วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

~ความหมายของอาหาร ~

อาหาร (FOOD)

ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 "อาหาร" หมายถึง ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ซึ่งได้แก่
1.วัตถุทุกชนิดที่คนกินดื่มอมหรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ หรือในรูปลักษณะใดๆแต่ไม่รวมถึงยาหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น


2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสม ในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปน อาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส


ประเภทของอาหาร
1. อาหารควบคุมเฉพาะ

เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หากผลิตออกไม่ได้คุณภาพมาตราฐาน ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ก็จะเป็นอันตรายดังนั้นจึงจำเป็นต้องประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เช่น น้ำดิ่มควรบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท น้ำแข็ง ผลิตภัณฑ์ของนม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนั้นมีทั้งสิ้น 17 รายการ



2. อาหารที่กำหนดคุณภาพ หรือมาตราฐาน
มีกำหนดคุณภาพมาตราฐานเช่นเดียวกับอาหารกลุ่ม1 แต่การขอใบอนุญาตจะมีความเข้มงวดน้อยกว่า อาหารกลุ่ม1 เช่น ช็อกโกแลต ไข่เยี่ยวม้า น้ำมัน เนย น้ำปลา ชา กาแฟ เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 31 รายการ


3. อาหารที่ต้องฉลาก
เป็นอาหารที่กำหนดข้อความรายละเอียด ที่ต้องแจ้งบนฉลาก เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อ อาหารกลุ่มนี้มี 14 รายการ เช่น หมากฝรั่ง ลูกอม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

4. อาหารทั่วไป
คืออาหารนอกเหนือจากอาหาร 3 กลุ่มข้างต้น ในปัจจุบันเฉพาะฉลากของอาหาร 1-3 เท่านั้นที่มีการแสดงเลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย

.












~อาหารหลัก 5 หมู่ ~


ประเทศไทยเราได้ แบ่งอาหารออกเป็น 5หมู่ โดยจัดอาหารที่ให้สารอาหารคล้ายกัน เข้าไว้ในหมู่เดียวกัน เพื่อให้เราสามารถพิจารณาได้ว่าได้กินอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือไม่ อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้ หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย


อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้

หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ






หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย








หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ






หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3







หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย










































~ สารอาหาร ~



สารอาหาร คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน เข้าไป และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายสารอาหารที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถแบ่งออก ได้เป็น 6 ประเภท ด้วยกันคือ....
โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหมู่ที่ 1 คือ เนื้อสัตว์ต่าง ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง และนม การรับประทานอาหารที่มีโปรตีน มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโต และโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4กิโลแคลอรี่
ดังนั้น บุคคลที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต จึงต้องการสารอาหารโปรตีน มากกว่าวัยอื่น ๆ นอกจากโปรตีนจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแล้ว โปรตีนยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกประการหนึ่ง คือ ช่วยซ่อมแซม และเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
คาร์โบไฮเดรต
เป็นสารอาหารที่มีอยู่มากใน อาหารหลักหมู่ที่ 2 คือ อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล อาหารจำพวกแป้ง ที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรทมาก ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง แป้งขนมปังต่างๆ เผือก มัน ฯลฯนอกจากอาหารจำพวกแป้งแล้ว อาหารจำพวกน้ำตาล ยังให้สารอาหาร คาร์โบไฮเดรทมากอีกด้วย เช่น ลูกกวาด น้ำเชื่อม น้ำตาล น้ำผึ้ง ช็อกโกแลต ขนมหวาน ผลไม้ที่มีรสหวาน
ไขมันเป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหลักหมู่ที่ 5 คือ ไขมันและ น้ำมันจากพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดทานตะวัน กะทิ น้ำมันหมู น้ำมันไก่ เนย ฯลฯ
วิตามิน เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารหลายชนิด แต่มีมากในอาหารหลักหมู่ที่ 3 คือ ผักชนิดต่าง ๆ เช่น ตำลึง คะน้า มะเขือเทศ กะหล่ำปลี กระถิน มะเขือเทศ แครอท ฯลฯ นอกจากในผักชนิดต่าง ๆ แล้ว วิตามินยังมีมากในผลไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอาหารหลักหมู่ที่ 4 อีกด้วย เช่น ฝรั่ง กล้วย มะละกอ ส้ม มะม่วง องุ่น มังคุด สับปะรด พุทธา ฯลฯซึ่งในอาหารแต่ละชนิดจะให้วิตามินที่แตกต่างกันออกไป และวิตามินแต่ละชนิดก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปวิตามินที่ร่างกายต้องการมีหลายชนิดด้วยกัน แต่วิตามินที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 2 วิตามินซี วิตามินดี

วิตามินเอมีมากในน้ำมันตับปลา ไข่แดง นม ผักและผลไม้ที่มีสีแดง เหลือง และเขียว เช่น ฟักทอง แครอท มะละกอสุก ผักบุ้งฯลฯ



วิตามินบี1มีมากในข้าวซ้อมมือ เนื้อหมู ตับ ไข่ และถั่วต่าง ๆ การรับประทานอาหาร ที่มีวิตามินบี 1 เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย มีประโยชน์คือ ทำให้ระบบประสาททำงานได้ปกติและช่วยให้ป้องกันโรค

วิตามินบี 2มีมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง และผักใบเขียว ถ้าร่างกายขาดวิตามินบี 2 จะทำให้เป็นแผลที่มุมปาก ซึ่งเรียกว่า โรคปากนกกระจอก


วิตามินซีี มีมากในผักและผลไม้สด เช่น ตำลึง คะน้า กะหล่ำปลี พริกหยวก ผักบุ้ง มะเขือยาว ส้ม มะขามป้อม ฝรั่ง สับปะรด เชอรี่ ฯลฯ การรับประทานผักและผลไม้สดอยู่เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ อีกทั้ง ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเลือดออกตามไรฟัน ที่เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิดเหน็บชาได้อีกด้วย

วิตามินดี มีมากในน้ำมันตับปลา ไข่แดง นม ตับสัตว์ การรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรค กระดูกอ่อนอีกด้วย

เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น แคลเซี่ยม เหล็ก ไอโอดีน ที่ช่วยทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานปกติแล้วยังมีสารอาหาร อีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานปกติเช่นเดียวกับวิตามิน อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้อีกด้วย
เหล็ก เป็นเกลือแร่ที่มีมากในตับทุกชนิด เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และถั่วเมล็ดแห้ง การรับประทานอาหารที่มีเหล็กมาก มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ เหล็กจะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง




















































วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551



~ การเก็บและบรรจุอาหารที่ถนอมแล้ว ~



การเก็บรักษาและบรรจุอาหารหลังจากถนอมแล้ว ควรทำให้ถูกต้องเพราะอาหารจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม อาหารที่ถนอมแล้วจะเก็บไว้ได้นานหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา อาหารที่ถนอมแล้วซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ภาชนะบรรจุ และวิธีการบรรจุที่สะอาด และถูกหลักอนามัย จะปลอดภัยต่อ ชีวิตผู้บริโภค และไม่มีผลทำลาย สิ่งแวดล้อม
การบรรจุหีบห่อและการเก็บรักษา
ความสำคัญของการบรรจุหีบห่อการบรรจุหีบห่อมีความสำคัญต่อสินค้าทุกประเภท เพราะช่วยป้องกัน และรักษาคุณภาพของสินค้าให้เหมือนเดิม มากที่สุดสะดวก ต่อการ ขนส่ง การเก็บรักษา ทั้งยังเป็นตัวกลาง ในการให้ข้อมูล เกี่ยวกับสินค้า ที่บรรจุภายใน นอกจากนี้การบรรจุหีบห่อ ยังเป็นการส่งเสริม การขาย อีกวิธีหนึ่งด้วย
การเลือกภาชนะบรรจุ
ภาชนะสำหรับบรรจุน้ำพริกเมืองเหนือนิยมใช้ใบตอง ถุงพลาสติก สำหรับการขายปลีกหรือการขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ระยะเวลา ในการขนส่งหรือการจำหน่ายอยู่ในระยะสั้นการใช้ใบตองห่อ เป็นการ บรรจุหีบห่อที่มีมาแต่โบราณ เป็นวิธีบรรจุหีบห่อ ที่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลด ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายยาก จำพวก พลาสติก ชนิดต่าง ๆ สำหรับการขายส่ง ตามห้างร้าน ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ นิยมบรรจุ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ซึ่งจะใช้ขวดที่มีลักษณะ ปากกว้าง สามารถ ใช้ช้อนหรือ อุปกรณ์อื่นตักออกจากขวดได้
การเก็บรักษาและบรรจุอาหารที่ถนอมด้วยการตากแห้ง

เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก พริกแห้ง เป็นต้น ควรเก็บในภาชนะที่แห้งหรือโปร่ง เช่น
กล้วยตาก เก็บไว้ในขวดโหล หรือกล่องพลาสติกเรียงลำดับให้ดี มีฝาปิดให้เรียบร้อย เวลาจะรับประทานควรใช้ซ่อมจิ้ม ถ้าใช้มือหยิบต้องสะอาดและแห้ง จะทำให้ของเก็บได้นานไม่เน่าเสียเร็ว
เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ให้แขวนไว้ในที่โปร่ง จะทำให้ไม่ขึ้นรา ปัจจุบันสามารถเก็บใส่ถุงพลาสติกและใส่ไว้ในตู้เย็นก็ได้
พริกแห้ง ใส่ตะกร้าโปร่งๆผึ่งไว้จะเก็บได้นาน ถ้าใส่ภาชนะที่อับจะทำให้เกิดความชื้น จนขึ้นราและเสียง่าย ถ้าใส่ถุงควรเจาะรูรอบถุงเพื่อให้อากาศถ่ายเทไม่อับชื้น
การเก็บรักษาและบรรจุอาหารที่ถนอมด้วยการดอง เช่นหัวผักกาดเค็ม มะนาวดอง ควรใส่ขวดหรือภาชนะที่เป็นแก้ว ถ้าจะให้เก็บได้นานมากขึ้น ควรใช้ขวดประเภทอัดความดัน
หัวผักกาดเค็ม ให้เก็บในภาชนะที่เป็นกระเบื้อง หรือดินเผาชนิดเคลือบ หรือภาชนะแก้ว ถ้าใช้ภาชนะอื่นความเค็มจะกัดภาชนะที่บรรจุให้ผุกร่อนได้
ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น อาหารประเภทนี้ใช้บรรจุใส่กระป๋อง ซึ่งข้างในเป็นสูญญากาศ ทำให้เก็บถนอมอาหารไว้ได้นาน แต่ราคาจะแพงเพราะมีกรรมวิธีในการผลิตที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง ไม่เหมือนกับบรรจุใช้ในครัวเรือน


~ การเก็บรักษาอาหาร ~






การเก็บรักษาอาหาร
อาหารบางอย่าเก็บไว้ได้ไม่นานจะเสียเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น อาหารจะเหี่ยว เน่า เสียเร็ว เช่น เนื้อสัตว์ ผักรับประทานใบ หรือผลไม้สุก การเน่าเสียของอาหารเนื่องมาจาก เนื้อเยื้อในอาหารนั้นถูกกระทำจากสภาพแวดล้อม เช่น น้ำในผักระเหยออกไปจึงทำให้ผักเหี่ยว จุลินทรีย์ในอากาศ เป็นตัวทำให้เนื้อสัตว์บูดเน่า การรับประทานอาหารที่เน่าเสีย จะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้อาหารที่ซื้อมาจากตลาด ควรเก็บไว้บนชั้น

ตู้เย็นหรือตู้แช่แข็ง แต่ไม่ว่าจะเก็บอาหารไว้ที่ใดก็ตาม ที่นั้นจะต้องแห้ง ไม่ร้อน และต้องสะอาด ก่อนจะนำมาทำอาหาร ต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นอยู่ในสภาพดี ไม่เน่าเสีย รับประทานได้ อาหารต่างชนิดกันจะมีวิธีการเก็บรักษามีดังนี้

การเก็บรักษาอาหารประเภทเนื้อสัตว์

ถ้าที่บ้านมีตู้เย็นการซื้อเนื้อสัตว์ทีละมาก ๆ ควรล้างให้สะอาดทั้งก้อน แล้วนำมาหั่นเป็นก้อนหรือแล่เป็นชิ้นเล็ก ๆ เก็บใส่ถุงพลาสติกหรือห่อด้วยกระดาษไข นำไปใส่กระบะใต้ชั้นทำน้ำแข็ง เวลาจะรับประทานจึงนำออกมาตามปริมาณที่ใช้แต่ถ้าที่บ้านไม่มีตู้เย็นก็ให้แกะเอาเนื้อสัตว์ออกจากถุงแล้วนำไปแขวนไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือหั้นเป็นชิ้นรวมกันไว้เพื่อประกอบอาหารในมื้อต่อ ๆ ไปได้




การเก็บรักษาอาหารประเภทผักและผลไม้

ผักสด เป็นของสดที่ช้ำ เน่าเสียและเหี่ยวง่าย ถ้าต้องการเก็บผักไว้รับประทานนาน ๆ ควรปฏิบัติดังนี้การเก็บด้วยวิธีธรรมชาติ ให้เลือกผักส่วนที่เน่าและมีตำหนิทิ้งไปแล้วล้างผักให้สะอาด สำหรับผักที่มีราก เช่น ผักบุ้งและผักชี แช่รากผักไว้ในน้ำเย็น ส่วนผักที่ไม่มีรากเก็บไว้ในกะละมังวางเรียงกันโดยเอาโคนผักแช่น้ำ แล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดพอหมาดคลุมยอดผักไว้ พรมน้ำให้เปียกเป็นครั้งคราววางไว้ที่ร่มและไม่มีลมโกรกแรงมากนักเก็บไว้ในตู้เย็น ให้เลือกผักส่วนที่เน่าและเป็นโรคทิ้งไป แช่ผักในน้ำสะอาดที่ผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจากนั้นทิ้งผักให้เสด็จน้ำในกระชอน เก็บผักลงในถุงพลาสติกใสที่เจาะรูให้อากาศถ่ายเทได้ และนำถุงผักไปเก็บไว้ในชั้นล่างสุดของตู้เย็นไม่ควรเก็บผักไว้ในที่เย็นจัด เพราะความเย็นจะทำให้ผักช้ำและเน่าเสียง่ายผลไม้ ผลไม้ที่รับประทานทั้งเปลือก เช่นชมพู่ พุทรา ฝรั่ง ถ้าเก็บไม่ดีจะเป็นรอยขีดข่วนช้ำได้ง่าย และมีการเน่าเสียเกิดขึ้นมาก จึงต้องแยกเก็บต่างหากจากผลไม้ที่ต้องปอกเปลือกก่อนรับประทาน เช่นกล้วย ส้ม มะม่วง เป็นต้น การเก็บ ควรเก็บในที่เย็น มีความชื้น มีการระบายเช่นเดียวกับการเก็บผัก

การเก็บรักษาอาหารประเภทไขมัน
ควรเก็บน้ำมันไว้ในภาชนะทิ่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการเหม็นหืน น้ำมันที่ใช้แล้วจะเก็บไว้ใช้อีกควรกรองเอาเศษอาหารออกก่อนน้ำมันที่มีลักษณะเหนียว เนื่องจากผ่านการใช้หลายครั้งแล้วไม่ควรนำมาบริโภคเพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เนยเหลวและเนยแข็ง ใส่กล่องพลาสติก เก็บไว้ในตู้เย็น ในบริเวณที่มีความเย็นปานกลาง ถ้าเย็นจัดเนยจะแข็งเกินไป ทำให้เสียเวลาในการรอให้เนยอ่อนตัวเมื่อต้องการใช้

การเก็บรักษาอาหารประเภทข้าวและแป้ง

วิธีทำให้ข้าวเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสียและป้องกันไม่ให้มีกลิ่นเหม็น คือ หมั่นนำข้าวที่บรรจุอยู่ในภาชนะตากแดด แล้วเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทป้องกันฝุ่นละอองและแมลง แป้งก็เช่นเดียวกับข้าว หมั่นนำออกผึ่งแดดไล่ความชื้นแล้วเก็บใส่ขวดปิดฝาสนิท








การเก็บรักษาอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง



ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากยังขาดความเข้าใจใน เรื่อง ผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการแช่เยือกแข็ง ต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพของอาหารทะเล ทำให้สถาบันเทคโนโลยีสัตว์น้ำ (CIFT) มหาวิทยาลัยดาลเฮาส์ซี (Dalhousie University) ประเทศแคนาดา ได้เข้ามาส่งเสริม การจัดการที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเล

การเปลี่ยนแปลงของอาหารทะเลแช่เยือกแข็งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีตามธรรมชาติ ทำให้เนื้อสัมผัสเหนียวและแห้ง และเกิดกลิ่นรสที่ไม่พึงปรารถนา อัตราการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก โดยอุณหภูมิยิ่งต่ำลงเท่าใดจะช่ยทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลง ช้าลงเท่านั้นและอัตราการเปลี่ยนแปลงจะสูงในช่วงอุณหภูมิ -5 องศาเซลเซียส
ตามความเป็นจริงแล้วอุณหภูมิไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ใช้เป็นตัวกำหนดอัตราการเสื่อมเสีย แต่เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ การใช้บรรจุภัณฑ์และการทำเคลือบผิวด้วยน้ำแข็ง




ปัจจัยในการเก็บรักษา


อุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียสเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาปลา โดยได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์มากว่า 40 ปี (ยกเว้นการเก็บรักษาปลาทูน่าในประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่าเล็กน้อยเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสี)
อย่างไรก็ตาม การกำหนดเพียงอุณหภูมิในห้องเย็น อุณหภูมิตู้สำหรับบรรทุกสินค้า หรืออุณหภูมิตู้สำหรับปลาแช่เยือกแข็งยังไม่เพียงพอ เนื่องจากอุณหภูมิของตัวผลิตภัณฑ์เองเท่านั้นที่เป็นตัวกำหนดอัตราการเสื่อมสภาพ ผลิตภัณฑ์ควรจะมีอุณหภูมิต่ำลงจนถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ก่อนนำมาเก็บรักษา เพราะปกติห้องเย็นที่ใช้เก็บรักษาจะต่ำมาก นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน การลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิที่เก็บรักษาแล้วมักได้รับผลกระทบจาก ความร้อนที่ออกมาจากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ติดกันและยังไม่ผ่านการลดอุณหภูมิอย่างเพียงพอ ดังนั้นการแช่เยือกแข็งที่ดีและการจัดการก่อนการเก็บรักษาจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน





การแช่แข็งและการขนถ่าย





ในการแช่เยือกแข็งนั้นสิ่งที่เราได้ทราบมานานแล้วนั่นคือ ความสัมพันธ์ ของอัตราเร็วในการแช่เยือกแข็งกับคุณภาพของอาหารแช่เยือกแข็งที่ได้ หรือบางครั้งอาจให้ความสำคัญกับการเกิดผลึกน้ำแข็งหรือการสูญเสียน้ำ โดยทั่วไปแล้วเมื่อเราให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เวลา ในการแช่เยือกแข็งผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยมีผลเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าระยะเวลาที่ใช้ในการแช่เยือกแข็งไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง การแช่เยือกแข็งแบบรวดเร็ว นอกจากจะช่วยทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ออกมาดีแล้วนั้น ยังทำให้เกิดกระบวนการผลิตที่เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพอีกด้วย จึงทำให้การเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์มักไม่ได้เกิดในช่วงการแช่เยือกแข็งที่ใช้เวลาสั้น แต่มักเกิดขึ้นในช่วงการเก็บรักษาการขนส่งและการกระจายสินค้ามากกว่า
หน้าที่สำคัญของเครื่องแช่เยือกแข็งคือทำให้ ผลิตภัณฑ์เย็นตัวลงถึงอุณหภูมิที่ต้องการในการเก็บรักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญแต่มักจะปฏิบัติไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อต้องการเก็บในปริมาณมากๆ ทั้งๆ ที่สามารถตรวจสอบอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์และ ระยะเวลาการแช่เยือกแข็งได้ไม่ยาก
ปลาที่ไม่ได้ลดอุณหภูมิอย่างเพียงพอมักเกิดการเสื่อมเสียอย่างเห็นได้ชัด การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ซึ่งยังเย็นไม่พอ มักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำที่เรียกว่า Freeze burn ดังนั้นจึงควรที่จะพิจารณา แยกกันระหว่างการแช่เยือกแข็งและการเก็บรักษาในห้อง การใช้คำว่า Freezer สำหรับห้องเย็นที่ใช้เก็บรักษาที่ใช้กันมานานแต่ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากคำนี้มาจากวิธีการแช่เยือกแข็งในอดีต ที่มักใช้ในห้องเดียวกันทั้งการแช่เยือกแข็งและการเก็บรักษา
นอกจากนี้ในช่วงการขนถ่ายและการกระจายสินค้าจำเป็นที่ต้อง มีการรักษาอุณหภูมิของปลาแช่เยือกแข็งไว้ที่อุณหภูมิต่ำ จนกระทั่งถึงขั้นตอนการละลายก่อนนำผลิตภัณฑ์มาใช้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในการกระจายสินค้าและการจำหน่ายปลีกจะสูงกว่า -30 องศาเซลเซียสมาก ดังนั้นควรใช้เวลาในช่วงนี้ให้สั้นที่สุด แต่การปฏิบัติในปัจจุบันยังไม่ได้เป็นไปได้อย่างที่ต้องการ
การที่อุตสาหกรรมอาหารทะเล จำเป็นต้องใช้การแช่เยือกแข็งและการเก็บรักษา ในห้องเย็นทำให้จำเป็นต้องอาศัยการปฏิบัติในห้องเย็นที่ดีและทั่วถึง โดยเฉพาะหากต้องการให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สูงอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ตัวอุตสาหกรรมเอง สามารถจะทำให้เกิดการพัฒนาได้หากผู้แปรรูปและ ผู้ควบคุมห้องเย็นยอมรับและนำเอามาตรฐานที่จำ เป็นมาปฏิบัติและต้องบังคับให้ผู้กระจายสินค้าและ ผู้ค้าปลีกรักษามาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่สูงไว้อยู่ในระดับสูง















วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

การเลือกซื้อผักและผลไม้

พิจารณาจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่
เลือกซื้อตามฤดูกาล การเลือกซื้อผักที่เป็นหัว มีดังนี้

เผือก มัน เลือกที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบ
ผักกาดหัว เลือกหัวอ่อน ๆ ผิวเรียบไม่งอ
กะหล่ำปลี เลือก หัวแน่น ๆ และมีน้ำหนักมาก
หอมใหญ่ เลือกหัวแน่น ๆ เปลือกแข็ง


การเลือกซื้อผักที่เป็นฝัก
ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อน ๆ สีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน มี เมล็ด เล็ก ๆ ข้างใน อันตรง ๆ ไม่คดงอ
การเลือกซื้อผักที่เป็นใบ
ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฯลฯ เลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และมีหนอน ต้นใหญ่อวบ ใบแน่นติดกับโคน
การเลือกซื้อผักที่เป็นผล
มะเขือเปาะ เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว
แตงกวา แตงร้าน ลูกที่มีน้ำหนักสีเขียวอ่อน ลูกยาว ผิวนวล ไม่มีรอยช้ำ
มะนาวเลือกผิวบางเรียบ ไม่เหี่ยว - ฟักทอง ผลหนัก แน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ

การเลือกซื้อผักผลไม้ให้ได้ประโยชน์ที่สุด
ผักและผลไม้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย ซึ่งมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย การเลือกซื้อผักผลไม้ให้ได้ของดีไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งเราเสียเงินซื้อผักผลไม้ไปเป็นจำนวนมากเพื่อหวังจะได้ของดีมา แต่เนื่องจากการขาดความรู้ในเรื่องการเลือกซื้อผักผลไม้ ทำให้ได้ของไม่ดีมา เสียทั้งเวลาและเสียความรู้สึก

ผักและผลไม้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่อง สารอาหาร ปริมาณ ราคา รสชาติ ในความแตกต่างเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการเลือกซื้อ มีคำแนะนำที่พอจะเป็นแนวทางในการเลือกซื้อผักผลไม้ให้ได้ประโยชน์ที่สุดดังต่อไปนี้

1. ให้เลือกซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาล ผักและผลไม้ที่เติบโตออกดอก-ผลตามฤดูกาล แสดงว่าในฤดูกาลนั้น สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพน้ำ และอุณหภูมิ มีความเหมาะสมกับผักและผลไม้ที่ออกดอก-ผลในช่วงฤดูกาลนั้น ๆ การเลือกซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาลจึงสามารถเลือกซื้อได้ในราคาถูก ได้ผักและผลไม้ที่มีคุณภาพดี รสชาติอร่อย พูดได้ว่าเป็นการได้ของดีในราคาไม่แพง

2. ให้เลือกซื้อผักผลไม้ที่สด-ใหม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนเคยได้ยินกันมามากที่สุดว่า การเลือกซื้อผักผลไม้ให้เลือกที่สดและใหม่ ยิ่งเพิ่งเก็บมาจากแปลงเลยได้ยิ่งดี เพราะผักและผลไม้เป็นผลิตผลทางการเกษตร ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน การเก็บผักและผลไม้ไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความสด วิตามิน สารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ที่อยู่ในผักและผลไม้ จะค่อย ๆ ถูกทำลายไปตามระยะเวลาที่เก็บ ความสด กรอบ ของผักและผลไม้จะลดลง การเลือกซื้อผักผลไม้เพื่อให้ได้ผักและผลไม้ที่สด-ใหม่ ควรเลือกที่ ผิวตึง น้ำหนักดี สีเขียวสด
ลำต้นตรง ไม่เหี่ยวงอ ฯลฯ

3. ถ้าสามารถรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเหล่านี้ได้ก็จะเป็นประโยชน์กับการเลือกซื้อผักผลไม้ได้มากขึ้น เช่น ระยะเวลาปลูก ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผักและผลไม้ที่คุณภาพดีต้องมีอายุที่เหมาะสม ระยะเวลาปลูกและวิธีการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงอย่างถูกต้อง เช่นต้องฉีดยาฆ่าแมลงก่อนเก็บอย่างน้อย 2 อาทิตย์ จะทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ที่เก็บมา ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถเลือกซื้อผักผลไม้ได้ของที่มีคุณภาพดี

4. ให้เลือกซื้อผักผลไม้ตามลักษณะเฉพาะของผักและผลไม้นั้น ๆ นอกจากความสด-ใหม่แล้ว เราต้องรู้ถึงคุณลักษณะเฉพาะของผักและผลไม้ที่เราจะเลือกซื้อว่า ลักษณะที่ดีของผักและผลไม้ชนิดนั้นเป็นอย่างไร ผักและผลไม้บางอย่างต้องบริโภคขณะยังอ่อน แต่ผักและผลไม้บางอย่างควรบริโภคตอนแก่จัด ลักษณะเฉพาะของผักและผลไม้จะส่งผลต่อรสชาติและคุณภาพของผักและผลไม้ชนิดนั้น ๆ

5. สภาพผักและผลไม้ที่เราจะเลือกซื้อ ให้ดูจากการขนส่ง การบรรจุภัณฑ์ การรักษาอุณหภูมิ ปัจจัยเหล่านี้ไม่จำเป็นเลยถ้าเราอยู่ใกล้แหล่งปลูกผักและผลไม้ แต่ในความเป็นจริงผักและผลไม้จะถูกขนส่งมาจากที่ต่าง ๆ ดังนั้นการบรรจุภัณฑ์ การรักษาอุณหภูมิและระยะเวลาการขนส่งจึงมีผลต่อสภาพผักและผลไม้เป็นอย่างมาก