วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

~ วิธีการประกอบอาหาร ~



การประกอบอาหารให้สุกด้วยความร้อนมีหลายวิธี เช่น การต้ม นึ่ง ทอด ซึ่งทุกวิธีมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
คือต้องทำให้อาหารสุกแต่จะมีคุณค่าต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้นๆและวิธีการปรุง ซึ่งมีหลักปฎิบัติและข้อดีข้อเสีย
1. การปิ้ง ย่าง เผา หรืออบ คือการทำอาหารให้สุกโดยใช้ความร้อนจากเตา/ไฟโดยตรง
มีวิธีการปฎิบัติดังนี้ ....
การปิ้ง นำอาหารที่ต้องการทำให้สุกวางลงบนตะแกงเหล็ก สำหรับปิ้งบนเตาถ่านที่มีความร้อนไม่มาก ปิ้งกลับไปมาในช่วงเวลาสั้นๆ วิธีนี้มักใช้กับอาหารแห้ง เช่น ข้าวเกรียบ เนื้อเค็ม ปลาแห้ง หรืออาจใช้เครื่องปิ้งไฟฟ้าเช่น เครื่องปิ้งขนมปัง
การย่าง มีวิธีคล้ายปิ้ง แต่ใช้เวลานานกว่า เพื่อให้อาหารสุก ระอุทั่วกัน เช่น ย่างไก่ ย่างหมู ย่างปลาสด ก่อนย่างควรทาน้ำมันหรือห่อใบตอง ย่างข้างละประมาณ 2 นาทีพลิกไปมา ถ้าต้องการให้กลิ่นหอมให้ใส่กาบมะพร้าวลงในเตาไฟ

การเผา เป็นการทำให้อาหารสุกโดยใช้ไฟแรง วางของที่จะเผาลงบนไฟพลิกกลับไปกลับมา ให้สุกทั้งด้านนอกและด้านใน เช่น ปลาเผา กุ้งเผา มันเทศเผา
การอบ เป็นการทำให้อาหารสุกโดยใช้ความร้อนจากเตาอบ เช่น การอบไก่ ตั้งเตาอบให้ร้อนก่อนประมาณ 15 นาที จึงเอาไก่เข้าไปอบ ควรทาน้ำมันลงบนเนื้อไก่ที่จะอบ ใช้ความร้อนประมาณ 190 องศาเซลเซียส ในเวลา 20-30 นาทีหากต้องการให้ไก่แห้งกว่านั้นควรลดไฟ และยืดเวลาออกไปประมาณ 1o ทั้งนี้ควรพิจารณาลักษณะของไก่ที่อบว่าเป็นวิธีการวหรือเป็นชิ้นการอบจะสั้นลงและลดอุณหภูมิ
ข้อดี การปิ้ง ย่าง เผา หรืออบ เป็นวิธีการประกอบอาหารที่สงวนคุณค่าไว้ได้มาก
ข้อเสีย ถ้าใช้เวลาในการปรุงนานเกินไป จะทำให้อาหารแห้งมาก ไหม้ แลดูไม่น่ารับประทานและรสชาติไม่อร่อย
การต้ม เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยน้ำเดือด วิธีต้มคือ ต้มน้ำให้เดือดก่อน แล้วค่อยใส่อาหารลงในภาชนะ แต่อาหารบางชนิด เช่น เนื้อวัว ต้องใส่เนื้อในภาชนะ ใส่น้ำก่อนต้มก็ได้รอจนอาหารสุกแล้วยกลง ทิ้งไว้ให้อุ่นก่อนตักมารับประทาน
ข้อดี การต้มเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับใช้เคี่ยวเนื้อสัตว์ให้เปื่อย เช่นเครื่องในต้ม

ข้อเสีย ในขณะที่อาหารแช่อยู่ในน้ำ สารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน b,c จะละลายออกมากับน้ำทำให้สูญเสียคุณค่าของอาหารไป
การนึ่ง เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยการให้ไอน้ำจากน้ำเดือด โดยใช้หม้อนึ่งหรือลังถึง วิธีการนึ่ง คือ ใส่น้ำลงในหม้อนึ่งลงไปชั้นล่างแล้ววางอาหารบนลังชั้นบน ปิดฝาให้สนิท นำไปตั้งไฟ ไอน้ำจากน้ำเดือดจะทำให้อาหารสุก
ข้อเสีย ถ้าใช้เวลาในการนึ่งมากเกินไป จะทำให้อาหารสูญเสียคุณค่า

ข้อดี การนึ่งจะช่วยสงวนคุณค่าอาหารได้ดีกว่าการต้ม และวิธีการหุงต้มอื่นๆเพราะสารอาหารไม่ละลายไปกับน้ำแต่ควรปิดฝาหม้อนึ่งให้สนิท


วิตามินชนิดใดที่ละลายในน้ำขณะต้ม

  • a,k
  • b,c
การทอด คือ การทำให้กรอบ หรือสุกด้วยน้ำมันร้อนๆ วิธีการทอดควรปฎิบัติ ดังนี้
-การทอดเนื้อใช้กระทะตั้งใส่น้ำมันผสมเนยเหลวเล็กน้อย เพื่อให้มีกลิ่นหอม รสดี และสีเหลืองสวย ใส่เนื้อขณะน้ำมันร้อน ใช้ไฟปานกลาง
-การทอดปลาใช้กระทะก้นแบน ใส่น้ำมันท่วมปลา ควรให้น้ำมันร้อนก่อนใส่ปลา ใช้ไฟแรงปานกลาง
-การทอดผักส่วนใหญ่จะชุบแป้งหรือไข่ทอดใช้น้ำมันมากใช้ไฟปานกลางเมื่อทอดสุกแล้วซับน้ำมันด้วยกระดาษซับมัน
ข้อดี การทอดทำให้อาหารกรอบ รสชาติอร่อย
ข้อเสีย การทอดทำให้อาหารสูญเสียวิตามิน A ,D, E, K ซึ่งละลายในไขมัน






การจัดตกแต่งอาหาร


ในการจัดตกแต่งอาหารให้มีสีสันสวยงามและน่ารับประทาน ไม่ควรจัดให้มีสีเดียวกันทั้งหมดในอาหารชุดเดียวกัน ทั้งนี้อาจจะใช้ผักสดตกแต่งขอบจาน เพื่อเพิ่มสีสันให้อาหารน่ารับประทานและใช้ภาชนะที่เหมาะสมกับอาหาร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

๑.อาหารประเภทแกง เช่น แกงเขียวหวาน แกงจืด ควรจัดใส่ชามหรือหม้อไฟ ไม่ใส่แกงให้เสมอระดับขอบหม้อไฟ หรือขอบชาม และไม่ใส่น้อยจนเกินไปเพราะจะทำให้ดูไม่สวยงาม


๒.เครื่องจิ้ม จำพวก น้ำพริกหรือหลนต่างๆ ให้จัดใส่ถ้วยก้นลึกแล้วนำไปวางในจานแบนใหญ่ จัดผักลงระดับบนจานไม่ควรจัดหรือสลักผักเกินจำเป็นเพราะจะเสียคุณค่าทางอาหาร และควรจัดเป็นหมวดหมู่สลับสีสันกันจะทำให้ดูสวยงามหน้ารับประทาน



๓.อาหารประเภทผัด จัดใส่จานเปลหรือจานแบนกลม โดยไม่ควรจัดให้ล้นถึงขอบจาน


๔.ผลไม้ควรล้างให้สะอาด เช็ดเปลืองนอกให้แห้งจัดใส่พานหรือถาดเป็นพวกๆหรือเป็นหมู่ โดยอาจให้สลับสีกันเพื่อความสวยงาม อาจมีส่วนสูงตรงกลางพานหรือริมใดริมหนึ่ง



































วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


อาหารที่ดีกับผิวพรรณ

เนื้อปลา
เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ของร่างกายที่เสื่อมโทรม และยังมีเซเลเนียม ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความชราและความเสื่อมของร่างกาย
น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันจากพืชที่แม้จะมีแคลอรี่สูงก็จริง แต่มีข้อดีคือ มีกรดไขมันชนิดที่เป็นประโยชน์กับร่างกายสูง และเป็นไขมันชั้นดี ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและที่สำคัญในน้ำมันมะกอกยังประกอบด้วยวิตามินเอ และอี ที่เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ทำให้ผิวดูอ่อนวัยคงความชุ่มชื้นและเนียนนุ่ม
เมล็ดข้าวและธัญพืช
ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ด ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ งา นอกจากจะมีวิตามินบีสูงแล้ว ยังมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ซึ่งจะช่วยสร้างและรักษาความแข็งแรงของเซลล์ มีงานวิจัยระบุว่าวิตามินอี ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว และช่วยปกป้องความเสียหายที่เกิดจากมลภาวะให้แก่ผิว
ผลไม้และผักสดผักสด
มีวิตามินเอ ช่วยทำให้ผิวหนังไม่แห้ง และยังสดใสเปล่งปลั่งอยู่เสมอ และยังมีวิตามินซีซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเส้นใยคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ผิวพรรณของใบหน้าดูเต่งตึง มีความยืดหยุ่น ผักสดและผลไม้ จึงควรเป็นอาหารที่คุณควรบรรจุไว้ในเมนูอาหารทุกมื้อของคุณ ผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก ได้แก่ ส้ม มะนาว มะเขือเทศสับปะรด ฝรั่ง ส่วนผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอมาก ได้แก่ กล้วยมะละกอ ฟักทอง แครอท
น้ำเปล่า
น้ำทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับทุกระบบภายในร่างกาย และหากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้ผิวพรรณไม่สดใส การดื่มน้ำวันละ6-8 แก้วโต ๆ เป็นวิธีที่ทำให้ผิวผ่อง แบบไม่ต้องลงทุนมาก เพราะน้ำจะช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และยังป้องกันผิวหย่อนยานจากการลดน้ำหนักอย่างอวบฮาบอีกด้วย
ตัวอย่างเมนูอาหารเพื่อผิวผ่อง
มื้อเช้า : สลัดผลไม้ราดด้วยโยเกิร์ตหรือสลัดผักสดกับน้ำสลัดใส
มื้อเที่ยง : ปลาจาระเม็ดนึ่ง แกงเลียง ข้าวกล้อง
มื้อว่าง : นมถั่วเหลือง หรือน้ำผลไม้คั้นสด ๆ
มื้อเย็น : ลาบเห็ด ซุบเต้าหู้ ข้าวกล้อง
อาหารที่ทำลายผิวพรรณ
1. ไขมันอิ่มตัวในเบคอน ไส้กรอก ไอศกรีม และเนยสด กระบวนการเผาผลาญอาหารเหล่านี้ จะเกิดอนุมูลสารอิสระสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ของร่างกายเหี่ยวย่น และเสื่อมโทรม
2. รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป มีผลขัดขวางกระบวนการสร้างคอลลาเจนของเซลล์ผิว ทำให้ผิวหย่อนยาน
3. คาเฟอีน เป็นตัวที่ดูดซับความชื้นจากผิว ถ้าคุณติดกาแฟจนยากที่จะเลิก เมื่อคุณดื่มกาแฟ 1 แก้ว ก็ควรดื่มน้ำเปล่าแก้วโต ๆ ตามไป1 แก้วเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ร่างกายขาดน้ำ และผิวพรรณขาดความชุ่มชื้นไปด้วย
4. แอลกฮอล์ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผิวพรรณ ขาดความเปล่งปลั่ง ถ้าคุณเป็นนักดื่ม ทุกครั้งที่ดื่มแอลกฮอล์ อย่าลืมดื่มน้ำเปล่าแก้วโต2 แก้ว เพื่อชดเชยไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และช่วยป้องกันไมให้ผิวขาดความชุ่มชื้น

สูตรอาหารเพื่อผิวสวย
สลัดผลไม้
ปลาจาระเม็ดนึ่ง
เมี่ยงเห็ด
น้ำพริกคั่วทูน่า
Smooties ผลไม้
แอปเปิ้ลคูลเลอร์
ซุปเต้าหู้
เมนูยำ

เมนูอาหารเพื่อผิวสดใส

วันว่าง ลองเข้าครัวมาเตรียมอาหารเพื่อช่วยยืดอายุผิวและทำให้สุขภาพดีกันดีกว่าค่ะ...
สลัดผักสด
...ผักกาดแก้ว แครอท(ขูดเป็นเส้น)แตงกวา มะเขือเทศ หอมใหญ่ ข้าวโพด ถั่วแดงถั่วลันเตา ผักกาดหอม ไข่ต้ม
วิธีเตรียม
...ล้างผักให้สะอาด พักให้สะเด็ดน้ำ นำมาหั่นเป็นชื้นขนาดพอคำแล้วนำไปแช่เย็นไว้ เพื่อให้ผักกรอบ รสชาติดี เวลาจะทาน ค่อยนำมาราดน้ำสลัด

อาหารจานนี้ มีผักสดและธัญพืชจำนวนมาก แครอทให้วิตามินเอ ช่วยให้ผิวสวย สดใส ไม่ตกกระ ถั่วแดงให้วิตามินอี ซึ่งช่วยทำให้ผิวแข็งแรง ส่วนผักสดก็ให้วิตามินซี ช่วยให้ผิวสวยไม่เหี่ยวย่นก่อนวัย เพิ่มโปรตีนชั้นดี จากไข่ต้ม ซึ่งเป็นอาหารบำรุงสมองเมนูจานนี้ นอกจากช่วยให้สมองกระปรี้กระเปร่าอิ่มท้องแบบไม่อ้วน ยังเป็นอาหารเพื่อผิวพรรณอีกด้วยค่ะ สลัดผลไม้ ...ถ้าใครชอบผลไม้ นำผลไม้มาราดด้วยน้ำสลัด ก็ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าดีสำหรับมื้อเช้า นำผลไม้ล้างให้สะอาด แล้วแช่ให้เย็น เวลาจะทานจึงค่อยนำมาหั่น เพื่อถนอมวิตามินในผลไม้ไว้ให้มากที่สุดสับปะรด แคนตาลูป แอปเปิ้ล ฝรั่ง หั่นเป็นชื้นสี่เหลี่ยมส้มโอแกะเอาแต่เนื้อ แบ่งเป็นคำ ๆ จัดใส่จาน แล้วราดด้วยน้ำส้มคั้น (นำส้มที่ล้างสะอาด ไปแช่จนเย็นจัด นำมาคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือป่น น้ำมันพืช คนให้ละลาย ถ้าเปรี้ยวเกินไป อาจเติมน้ำตาลเล็กน้อย เพื่อให้รสกลอมกล่อมขึ้น)

เมนูเครื่องดื่ม
...หยุดแอลกฮอล์หรือน้ำอัดลมไปสักวัน แล้วเติมความสดชื่นด้วยเมนูเครื่องดื่มจากผลไม้กล้วยหอมปั่น
ส่วนผสม กล้วยหอม 1 ผล นมสด ครึ่งแก้ว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
หั่นกล้วยหอมเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำใส่ในเครื่องปั่นเติมนมสด น้ำผึ้ง ปั่นให้เข้ากันแล้วดื่มทันที นมสดให้แคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก กล้วยหอมและน้ำผึ้ง ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น ไม่แห้งหรือหยาบกร้าน
นมสดมะละกอ
วิธีทำ มะละกอ 200 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เติมนมสดครึ่งแก้ว น้ำมะนาวคั้น 1 ผล และน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ปั่นให้เข้ากัน แล้วดื่มทันที ถ้าอยากดื่มเย็นก็ให้นำส่วนผสมต่าง ๆ ไปแช่ให้เย็นแล้วค่อยนำมาปั่น เครื่องดื่มแก้วนี้ ให้ทั้งแคลเซียมจากนม วิตามินเอจากมะละกอ และวิตามินซึจากมะนาว ช่วยทำให้ผิวสวยด้วยค่ะ

ส่วนช่วงบ่าย ๆ ลองจิบชาเขียวอุ่น ๆ สักถ้วย จะช่วยลดสารพิษให้ผิวพรรณ และยังทำให้หลอดเลือดสะอาดรู้สึกสดชื่นอีกด้วยค่ะ

เป็นเมนูง่าย ๆ เตรียมกันไม่ยาก ถ้ามีเวลาก็ลองทำดูนะคะ รับรองว่าสวยปิ๊งหน้าใส จนลืมอายุกันไปเลยค่ะ












วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551




หลักในการเลือกซื้ออาหารสด

  • เนื้อหมูและเนื้อวัว ควรเลือกเนื้อหมูที่มีสีชมพูอ่อน นุ่ม เป็นมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น และควรเลือกเนื้อวัวที่มีสีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่มีเมือก ต้องไม่มีเม็ดสีขาวใสคล้ายเม็ดสาคู เพราะเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด
  • ตับ ที่ดีต้องมีเนื้อละเอียด ไม่มีรูพรุน
  • เนื้อเป็ดและเนื้อไก่ ลักษณะผิวเต็มไม่เหี่ยวย่น ไม่มีจ้ำเขียวๆ ไม่ซีด ปลายปีกต้องไม่มีสีคล้ำ อกต้องมีเนื้อเต็ม ไม่มีรอยยุบ ตีนอ่อนไม่แข็งกระด้าง ไก่อ่อนจะมีกระดูกอกมากกว่าไก่แก่ และมักมีขนอ่อนๆด้วย
  • ปลา เหงือกต้องมีสีแดงสดไม่เป็นสีเขียว ไม่มีกลิ่นเหม็นและเมือก หรือถ้ามีเมือกก็ต้องเป็นเมือกใส ตาใสไม่จมลงไปในเบ้าตา ตาไม่ขุ่นเป็นสีเทา เนื้อแน่นแข็ง ผิวสดใส เกล็ดใส ท้องไม่แตก
  • เนื้อกุ้ง เลือกที่เนื้อแน่นไม่มีกลิ่นเหม็น ตาใส เห็นสีแดงของมันกุ้งชัด หัวกุ้งไม่หลุดง่าย
  • หอย ฝาต้องปิดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีเมือก ไม่มีสิ่งสกปรกมากเกินไป เมื่อแกะเปลือกแล้วเนื้อจะต้องมีสีแดงสดไม่ซีด เคลื่อนไหวได้เมื่อถูกแตะต้อง
  • ไข่ เปลือกต้องนวลเกลี้ยง ไม่มีรอยด่าง ไม่ร้าว เมื่อต่อยออกไข่ขาวจะไม่มีสี ไข่แดงจะอยู่ตรงกลางและกลม สีสม่ำเสมอไม่มีสิ่งแปลกปลอม
  • ผักผลไม้ ควรซื้อผักสด ไม่ซื้อผักผลไม้ที่มีรอยช้ำ ดูความอ่อนแก่ของผักและผลไม้(ผักบางชนิดอร่อยเมื่อยังอ่อน เช่น ผักบุ้ง ผักบางอย่างต้องรอให้แก่จัดก่อนถึงจะอร่อย เช่น มะเขือเทศ) ซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาลเพราะจะมีราคาถูก
หลักในการเลือกซื้ออาหารแห้ง
  • เลือกอาหารที่สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกปน
  • บรรจุภาชนะที่สะอาด
  • ที่ถั่วไม่มีจุดด่างดำ เพราะอาจมีสารที่เรียกว่าอะฟลาท็อกซิน

หลักใหลักในการเลือกอาหารกระป๋อง

  • ที่ฉลากต้องมีชื่อทางการค้า เลขทะเบียนอาหาร สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ น้ำหนัก บอกวัตถุเจือปนในอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย
  • ลักษณะกระป๋องต้องไม่บุบหรือนูน กระป๋องเรียบ ไม่มีกลิ่น ไม่รั่ว

หลักในการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูป

  • ภาชนะบรรจุไม่ฉีกขาด
  • ฉลากแสดงชื่ออาหารทางการค้า เลขทะเบียนการค้า สถานที่ผลิต ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ข้อความที่ระบุว่าใส่วัตถุกันเสียหรือไม่

หลักในการเลือกซื้อน้ำมันปรุงอาหาร

  • อ่านฉลากว่าทำมาจากพืชชนิดใด
  • ควรซื้อน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนอิคเกินร้อยละ 50 ของปริมาตรทั้งหมดเสมอ

เทคนิคการเลือกซื้ออาหาร

การเลือกเนื้อสัตว์สด

  • ไก่ ต้องสด คือสีไม่ซีด ไม่มีกลิ่นเหม็น ไก่อ่อนเนื้อจะนุ่ม เดือยสั้น ไก่แก่เนื้อจะแข็ง และมีสีดำกว่าไก่อ่อน เหนียวกว่าไก่อ่อน
  • กุ้งสด หัวกุ้งจะติดแน่นกับตัวไม่มีกลิ่นเหม็นคาว ต้องสดใส เปลือกมีสีน้ำเงินเทา
  • เนื้อหมู มีสีชมพูสด มันหมูมีสีขาว ไม่มีกลิ่นเหม็น
  • เนื้อวัว สีแดงสด มันเนื้อเป็นสีเหลือง เนื้อต้องแน่น เวลาใช้มือกดจะไม่ยุบ
  • หมูสามชั้น มันบาง เนื้อหนา มีเนื้อมากชั้นหนังบางและนุ่ม ไม่มีพังผืด
  • มันหมู มีสีขาว อ่อนนุ่ม ไม่เป็นพังผืด ไม่มีกลิ่นแรง
  • ปลาสด ผิวเป็นมัน เหงือกสีแดงสด เนื้อแน่นกดแล้วยกนิ้วขึ้นไม่บุ๋ม เนื้อแน่นติดกระดูก มีเมือกใส ๆ บาง ๆ หุ้มทั่วตัว เกล็ดแนบกับหนัง ไส้ไม่ทะลัก
  • หอย ไม่มีกลิ่นเหม็น ตัวต้องหุบแน่นจะเปิดอ้าบางเวลา แต่ถ้าเราไปแตะ มันจะหุบสนิท ทันที ถ้าหอยที่เปลือกเปิดอ้าตลอดเวลาไม่หุบ แสดงว่าหอยนั้นตายแล้ว
  • ปู มีน้ำหนัก แน่น ลูกตากระดุกระดิกได้ ปูตัวผู้มีเนื้อมากกว่าปูตัวเมีย มีฝาปิดอกเล็ก เวลากดไม่ยุบลง ปูตัวเมียมีไข่ มีฝาปิดหน้าอกใหญ่ ใช้มือดีด จะมีเสียงแน่น แสดงว่ามีไข่

การเลือกซื้อไข่

  • ไข่ไก่ เปลือกมีสีนวล คือมีนวลติดอยู่ ที่เปลือกไข่จะสากไม่เรียบ โพรงอากาศเล็
  • ไข่เป็ด ลักษณะเช่นเดียวกับไข่ไก่ คือเปลือกจะสากไม่เรียบ ลูกโตกว่าไข่ไก่ มีโพรง อากาศเล็ก
  • ความสด
  • ขนาด
  • ราคา

การเลือกซื้อผัก มีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อดังนี้

  • พิจารณาจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่

การเลือกซื้อตามฤดูกาล การเลือกซื้อผักที่เป็นหัว มีดังนี้

  • เผือก มัน เลือกที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบ
  • ผักกาดหัว เลือกหัวอ่อน ๆ ผิวเรียบไม่งอ
  • กะหล่ำปลี เลือก หัวแน่น ๆ และมีน้ำหนักมาก
  • หอมใหญ่ เลือกหัวแน่น ๆ เปลือกแข็ง

การเลือกซื้อผักที่เป็นฝัก

  • ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อน ๆ สีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน มี เมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน อันตรง ๆ ไม่คดงอ

การเลือกซื้อผักที่เป็นใบ

  • ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฯลฯ เลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และมีหนอน ต้นใหญ่อวบ ใบแน่นติดกับโคน

การเลือกซื้อผักที่เป็นผล

  • มะเขือเปาะ เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว
  • แตงกวา แตงร้าน ลูกที่มีน้ำหนักสีเขียวอ่อน ลูกยาว ผิวนวล ไม่มีรอยช้ำ
  • มะนาวเลือกผิวบางเรียบ ไม่เหี่ยว - ฟักทอง ผลหนัก แน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ

การประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์
วิธีทำให้เนื้อเปื่อยเร็ว

  • ใช้เอนไซม์ที่เรียกว่าพาเพอิน (papain) ซึ่งมีอยู่ในมะละกอ ทำให้เนื้อนุ่ม โดยนำมาทา ก้อนเนื้อภายนอกใช้ส้อมจิ้ม
  • ใช้เอนไซม์ ที่เรียกว่า โปรมิลิน (Bromelin) จากสับปะรด
  • การใช้เกลือและน้ำตาล ใช้วิธีบด ทุบ

การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

  • ซื้อจากแหล่งผลิตที่ไว้ใจได้
  • ลักษณะของกระป๋องใหม่ ไม่บุบ บวม รั่ว มีสนิม
  • มีส่วนประกอบ ปริมาณน้ำหนักเนื้อ น้ำหนักสุทธิ
  • เวลาที่ผลิต วันหมดอายุ ชื่อผู้ผลิต
  • ถ้าเปิดอาหารกระป๋องแล้ว ควรเทใส่ภาชนะอื่นแล้วอุ่นหรือทำให้ร้อน
  • เก็บไว้ในที่แห้ง อากาศโปร่งไม่ถูกแสงแดด
  • ถ้าเปิดอาหารแล้วควรรับประทานให้หมดทั้งกระป๋อง ไม่ควรเก็บค้างไว้

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551





สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลฉันใด ผิวพรรณหยาบและผิวพรรณละเอียดก็สามารถบ่งบอกถึงสถานภาพของเจ้าของ ผิวพรรณนั้นได้เช่นเดียวกัน คนส่วนใหญ่ไม่มีใครปรารถนาในสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ไม่สวยงาม ยิ่งเป็นผู้หญิงด้วยแล้ว ไม่ว่า จะอยู่ที่ใดก็ย่อมจะรักสวยรักงามด้วยกันทั้งนั้น ผิวพรรณก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความหล่อความสวยงามของ ร่างกาย แม้ว่าใบหน้าหรือรูปร่างจะไม่ถึงกับหล่อ สวยหรือดี แต่ถ้าผิวพรรณดีก็นับว่ามีภาษีอยู่แล้ว

การที่จะมีผิวพรรณดีได้นั้น นอกเหนือจากเรื่องบุญกรรมนำแต่ง ซึ่งเป็นเรื่องของพันธุกรรม ที่กำหนดมาจากภายในมา ตั้งแต่อยู่ในท้องพ่อท้องแม่ส่วนหนึ่งแล้ว ก็เป็นเพียงส่วนเดียวมิได้เป็นตัวกำหนดทั้งร้อยเปอร์เซนต์ ปัจจุบันมึการศึกษา ออกมาชัดเจนว่า กรรมพันธุ์เป็นเพียงตัวกำหนดมาจากภายใน แต่ภายนอกคือสิ่งแวดล้อมที่เป็นบริบทที่ล้อมรอบบุคคลนั้น ๆ จะมีบทบาทเป็นตัวกำหนดแทน ซึ่งเราสามารถส่งเสริมหรือสร้างต่อเอาเองเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ดีที่ต้องการได้ และต้องรู้จักชลอไว้ มิให้ความเสื่อมสภาพมาถึงเร็วเกินไปก็จะช่วยได้มาก ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยบำรุงและชลอในเรื่องของผิวพรรณ คือ อาหารที่มีประโยชน์
อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผิวพรรณต้องเป็นอาหารที่มีสารเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ, ซี และอี สารเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และซี มักจะพบในอาหารพวกที่มีสีเขียวและสีเหลือง เช่น ผักบุ้ง คุน้า กวางตุ้ง มะระขี้นก ถั่วฝักยาว กระถิน ถั่วลันเตา ผักกาดหอม แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง ส้ม ขนุน มะละกอ สับปะรด ฝรั่ง มะม่วง มะขามเทศ เป็นต้น ส่วนอาหารที่มีวิตามินอีก็หาได้จากข้าวโพด ถั่วเหลือง งา รำข้าว และจมูกข้าวสาลี เป็นต้น


การได้รับอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และอี น้อย หรือไม่ค่อยกินผัก ผลไม้ จะส่งผลต่อสุขภาพของผิวพรรณ โดยตรง ทำให้ผิวพรรณขาดความเปล่งปลั่งสดชื่น หากเป็นแผลก็หายช้า ถ้าขาดเป็นเวลานานก็จะทำให้ผิวหนาและเกิด ตุ่มเล็ก ๆ ทั่วไปตามรูขุมขน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อระบบสายตาทำให้ปรับเข้ากับที่มืดได้ช้า หรือที่เรียกว่า ตาบอกกลางคืนได้ สารอาหารดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยบำรุงผิวพรรณ เท่านั้น ยังช่วยชลอความแก่ชรา นายแพทย์เดนแฮม ฮาร์แมน แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสก้า สหรัฐอเมริกา เจ้าของทฤษฎีความแก่ชราที่กำลังเป็นที่ยอมรับและนำมาศึกษา ค้นคว้าต่อกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม่มีมนุษย์คนใดอยากแก่ มีแต่พยายามชลอให้มันช้าลง นายแพทย์ผู้นี้พบว่า อนุมูลอิสระ ฟรี-แรดดิคัล (Free-radical) นั้น ตัวของมันมีอิเลคตรอนเดี่ยวไม่มีคู่ จึงเข้าไปแย่งอิเลคตรอนจาก โมเลกุลของเซลล์อื่นมาเพื่อความคงตัวของมันเอง ทิ้งสิ่งไม่มีประโยชน์คืออนุมูลอิสระเอาไว้ และมันก็กลับมาทำลาย เซลล์ทำให้เซลล์ตาย เซลล์ของผิวหนังจะเหี่ยวย่น มีริ้วรอย ถ้าจะชลอให้ขบวนการนี้ช้าลงก็ต้องใช้สารที่มี แอนตี้-ออกซิแดท์ (Anti oxidant) ก็คือ กินอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และ ซี และอี ซึ่งก็คือพวก พืช ผัก และผลไม้สีเขียว และ สีเหลือง นั่นเอง ใครที่อยากแก่ช้า มีผิวพรรณดี เปล่งออกมาจากภายใน มิใช่การฉาบทาที่เป็นเรื่องชั่วครู่ชั่วยามก็ต้อง รับประทานอาหารเหล่านี้ร่วมกับการดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอในแต่ละวันด้วย





"เบต้าแคโรทีน" (Beta-carotene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ(โปรวิตามินเอ) มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทั้งนี้ โดยปกติร่างกายของมนุษย์เราสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(แอนตี้ออกซิเดนท์) ด้วย สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล(IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของเบต้าแคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้ เบต้าแคโรทีนมีในพืชสีเหลืองและสีส้ม ทั้งแครอต ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป มะละกอสุก และผักที่มีสีเขียวอย่างบร็อกโคลี่ มะระ ผักบุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น (เหตุที่มีสีเขียวเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบัง)
ประโยชน์ที่เบต้าแคโรทีนให้แก่ร่างกายคือ
1.ดูแลรักษาผิวพรรณอันเป็นส่วนของร่างกายที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทราบว่าอนุมูลอิสระมีผลต่อเราแล้วหรือยัง เช่น ผิวเริ่มเหี่ยวย่น ไม่ผ่องใส
2.ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง อนุมูลอิสระมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย การลดปริมาณอนุมูลอิสระเท่ากับลดความเสี่ยงของมะเร็ง ทั้งยังพบว่าเบต้าแคโรทีนให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายที่ชื่อ ที-เฮลเปอร์ ให้ทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง
3.บำรุงสุขภาพของดวงตา เบต้าแคโรทีนเมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้วจะได้วิตามินเอ ซึ่งร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอฟซินในดวงตาส่วนเรตินา ทำให้ตามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกด้วย
4.ชะลอความแก่ เบต้าแคโรทีนให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่ เบต้าแคโรทีนนับเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญสำหรับสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีรายงานของการขาดเบต้าแคโรทีนเลย แม้ว่าการวิจัยจำนวนมากจะระบุว่า การเสริมด้วยเบต้าแคโรทีนใช้ในคนที่มีอาการขาดวิตามินเอ แต่ก็ยังคงไม่มีข้อมูลแน่ชัดที่แสดงถึงอาการขาดเบต้าแคโรทีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักโภชนาการแนะนำว่าเราควรรับประทานเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกายโดยการบริโภคผักสดและผลไม้สด สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจากเบตาแคโรทีน ขณะนี้ยังไม่พบ แม้จากการวิจัยพบว่าวิตามินเออาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 25,000 หน่วยสากล(IU) ต่อวัน แต่ไม่พบว่าเบต้าแคโรทีนมีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานในปริมาณสูง ส่วนการมีปฏิกิริยากับสารอื่นไม่พบรายงานว่ามีปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีนกับยาสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ








วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

อาหารไทย
อาหารไทย มีชื่อเสียงขจรขจายไกลไปทั่วโลก ด้วยสีสรรสวยงามตามธรรมชาติ รสชาต ที่กลมกล่อมมีความหวาน เปรี้ยว เค็มได้ที่ และเผ็ดพอประมาณ
อาหารไทยมากมายหลายชนิด มีการผสมผสานเครื่องปรุง และเครื่องเทศต่างๆ ของเอเชียเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนในการเพิ่มรสชาติของอาหาร มีการใช้ทั้งน้ำผลไม้ เช่น น้ำมะนาว น้ำมะขาม และอื่นๆ เช่น น้ำปลา น้ำตาลปีบ กะปิ น้ำมันหอย ช่วยทำให้อาหารมีความกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น ส่วนผสมของกะทิ ที่ปรุงร่วมกับเครื่องแกงต่างๆ ทำให้อาหารไทยมีความโดดเด่นในรสชาติ แตกต่างจากอาหารชาติอื่นๆ และนอกจากนั้น วัฒนธรรมการตกแต่งอาหาร ให้วิจิตรสวยงาม ด้วยศิลปะการแกะสลัก ผักและผลไม้ แสดงออกถึงความประณีต ในการรับประทานอาหาร ของชนชาติไทย
เครื่องเทศ ที่ใช้ในการประกอบอาหารไทย เป็นสมุนไพรล้วนๆ ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด กระชาย หอม กระเทียม ฯลฯ อาหารไทย จึงเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นอาหาร "เพื่อสุขภาพ" อย่างแท้จริง
ส่วนต่างๆ ของผักและพืช ที่ใช้ประกอบอาหาร ได้แก่
ใบ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกะเฉด ใบยอ ใบชะมวง ใบย่านาง ฝัก เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วพูราก หัว เหง้า เช่น หัวผักกาดขาวมันเทศ มันสำปะหลัง เผือก หน่อไม้ ขิง ข่า กระชาย รากผักชีผล เช่น มะเขือเปาะ มะเขือพวง มะเขือเทศ มะเขือยาว มะกรูด มะนาว พริกต่าง ๆดอก เช่น ดอกขจร ดอกแค ดอกโสน หัวปลีเมล็ด เช่น พริกไทย แมงลัก งา ถั่ว ผักชี เปลือก เช่น อบเชย ฯลฯลำต้น เช่น บอน คูน (พืชหัวชนิดหนึ่งคล้ายเผือก ก้านใบและแผ่นใบสีเขียวอ่อน มีนวล ก้านใบใช้เป็นผักได้) ฯลฯ

อาหารตามภาคต่างๆ ของไทย
อาหารไทยภาคเหนือ อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ประเภทแกงเช่น แกงฮังเล อาหารพื้นเมืองอื่นๆ เช่น แหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่างๆ นิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก นิยมทาน เนื้อหมู เพราะหาได้ง่ายราคาไม่แพง สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล
อาหารไทยภาคกลาง โดยทั่วไปคนภาคกลางรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม มีรสหวานนำเล็กน้อย วิธีการปรุงอาหารซับซ้อน ด้วยการนำมาเสริมแต่ง หรือประดิดประดอยให้สวยงาม เช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำพริกกะปิ จัดให้สวยงามด้วยผักแกะสลักเป็นต้น ลักษณะอาหารที่รับประทาน มักผสมผสานกันระหว่างภาคต่างๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง เป็นต้น ทุกบ้านจะรับประทานข้าวสวยเป็นหลักอาหารเย็น มีกับข้าว 3-5 อย่าง ได้แก่ ต้มจืด แกงส้มหรือแกงเผ็ด เช่น พะแนง มัสมั่นแห้ง อาหารประเภทผัด เช่นไก่ผัดพริก ประเภทยำ เช่น ยำถั่วพู ยำเนื้อย่าง อาหารประจำของคนไทยภาคกลางคือ ผัก น้ำพริก และปลาทู อาจจะมีไข่เจียว เนื้อทอด หรือหมูย่างอีกจานหนึ่งก็ได้ โดยคำนึงถึงวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้าวเหนียวนึ่งเป็นหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ รับประทานกับลาบไก่ หมู เนื้อ หรือ ลาบเลือด ส้มตำ ปลาย่าง ไก่ย่าง จิ้มแจ่ว ปลาร้า อาหารภาคนี้จะนิยมปิ้ง หรือย่างมากกว่าทอด อาหารทุกชนิดต้องปรุงรสจัด เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่ชาวบ้านหามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ งู หนูนา มดแดง แมลงบางชนิด ส่วนเนื้อหมู วัว ไก่ และเนื้อสัตว์อื่น ๆ ก็นิยมตามความชอบ และฐานะ สำหรับอาหารทะเลใช้ปรุงอาหารน้อยที่สุด เพราะนอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาแพงอีกด้วย
อาหารไทยภาคใต้ อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงไตปลา แกงเหลือง เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ฝักสะตอนั้นขาดไม่ได้สำหรับอาหารภาคใต้ ทาใช้ทั้งเม็ดที่อยู่ด้านในของฝัก นำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุกแล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริกหรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้ หรือแช่แข็งก็ได้