การเลือกอาหาร
อาหารเป็นพิษ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกประเทศ แม้ประเทศที่มีความเจริญสูงและมีการควบ คุมเข้มงวดอย่างสหรัฐอเมริกา สาเหตุหลักมักเกิดจากการขาดความระมัดระวังของผู้บริโภคเอง โดยเฉพาะในเรื่องสุขอนามัย การป้องกันอาหารเป็นพิษไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ต่อไปนี้ เป็นข้อแนะนำที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากอาหารได้
1. ข้อควรระวังของผู้ซื้อ
1.1 การเลือกซื้อสินค้าที่ร้านค้า
χ ตรวจสอบหีบห่อที่บรรจุอย่างถ้วนถี่ สังเกตว่าภาชนะอยู่ในสภาพปกติหรือไม่วัสดุที่ใช้รัดหรือหุ้มหลุดหายไปหรือเปล่า ทางที่ดีควรเปรียบเทียบภาชนะที่น่าสงสัยกับภาชนะอื่นบนชั้นวาง
χ ตรวจสอบตัวป้องกันการเปิดภาชนะ สังเกตว่าพลาสติกห่อหุ้มภาชนะอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่
χ อย่าซื้อสินค้าที่หีบห่อเปิดอยู่ หรือมีรอยฉีกขาด เสียหาย ทั้งสินค้าบนชั้นวางในตู้เย็น หรือตู้แช่แข็งของทางร้าน
χ อย่าซื้อสินค้าที่เสียหายหรือผิดปกติ เช่น อาหารกระป๋องที่มีรอยรั่ว หรือฝากระป๋องบวม หรืออาหารแช่แข็งที่มีการละลายและนำมาแช่แข็งใหม่
χ ตรวจดูวันที่ที่ควรบริโภคที่พิมพ์อยู่บนภาชนะ และเลือกซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2 การตรวจสอบอาหารที่บ้าน
χ เมื่อเปิดภาชนะให้ตรวจสอบสินค้าอย่างถ้วนถี่ อย่าบริโภคอาหารที่มีสีผิดเพี้ยนจากเดิม ขึ้นรา มีกลิ่นเหม็น หรือที่มีน้ำหรือฟองออกมาเวลาเปิดกระป๋อง
χ ไม่ควรบริโภคอาหารที่ภาชนะมีความเสียหายหรือมีสภาพไม่สมบูรณ์ เช่นกระป๋องรั่วหรือฝากระป๋องบวม
2. การประกอบอาหารที่บ้านสามารถทำได้ตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
2.1 ความสะอาด ล้างมือและภาชนะเครื่องใช้ให้สะอาด
ล้างมือ ภาชนะเครื่องใช้ และเขียงด้วยสบู่และน้ำร้อนทั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไก่ ไข่ หรืออาหารทะเล
χ คุณรู้หรือไม่? : ร้อยละ 20 ของผู้บริโภคไม่ล้างมือและพื้นที่บริเวณห้องครัวก่อน การประกอบอาหาร การล้างมือและการทำความสะอาดพื้นที่บริเวณห้องครัวเป็นขั้นตอนแรกของอาหารที่ปลอดภัย
2.2 การแยกอาหาร อย่าให้เกิดการปนเปื้อนจากอาหารดิบไปอาหารสุก (crosscontamination)
โดยเฉพาะจากอาหารดิบ ๆ เช่น เนื้อ เป็ดไก่ และอาหารทะเล ดังนั้น จึงควรเก็บอาหารเหล่านั้นไว้ให้ห่างจากอาหารที่จะรับประทาน
ใส่อาหารปรุงสุกแล้วในจานที่สะอาด ถ้าคุณใส่อาหารสุกในจานที่เคยใส่อาหารดิบโดยที่ยังไม่ได้ล้างจานนั้น แบคทีเรียจากอาหารดิบจะสามารถปนเปื้อนในอาหารสุกได้
X คุณรู้หรือไม่? : หลังจากหมักเนื้อ ไก่ และอาหารทะเลดิบ ส่วนผสมที่ใช้หมักนั้นอาจปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียที่ร้ายแรง อย่าชิมหรือใช้น้ำหมักนั้นถ้าไม่ได้ทำให้สุกเสียก่อน
2.3 การประกอบอาหาร การประกอบอาหารด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหาร เห็นด้วยว่า อาหารจะสุกได้ที่และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เมื่อใช้ความร้อนและระยะเวลาที่เหมาะสม
เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อ เป็ดไก่ และอาหารอย่างอื่นได้รับการปรุงสุกทั่ว ใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่สะอาดวัดอุณหภูมิภายในอาหารที่ปรุงนั้น
χ คุณรู้หรือไม่? : การปิ้งหรือการย่างควรให้ความร้อนภายในอย่างน้อย 62.8 องศาฟาเซลเซียส สำหรับอกไก่ควรร้อน 76.7 องศาเซลเซียส และไก่ทั้งตัวควรร้อน 82.2 องศาเซลเซียส (วัดจากความร้อนที่น่องไก่)
2.4 การทำให้เย็น ใส่ตู้เย็นทันที
นำอาหารใส่ตู้เย็นอย่างรวดเร็วเพราะอากาศเย็นสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการเพิ่มของแบคทีเรียได้ ดังนั้น ควรตั้งอุณหภูมิตู้เย็นไว้ไม่สูงกว่า 4 องศาเซลเซียส และตั้งอุณหภูมิห้องแช่แข็งไว้ที่ –18 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ควรตรวจสอบอุณหภูมิเป็นประจำโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์
อาหารที่เสียง่าย อาหารที่ปรุงแล้ว และอาหารที่กินเหลือให้ใส่ตู้เย็นภายใน 2ชั่วโมง การหมักอาหาร เช่น ด้วยน้ำมัน เครื่องเทศ ควรหมักไว้ในตู้เย็น
อย่าละลายอาหารแช่แข็งที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งการละลายอาหารแช่แข็งที่ปลอดภัยสามารถทำได้โดย
1) ใส่ในตู้เย็นในช่องปกติ
2) แช่ไว้ในน้ำเย็น (ควรเปลี่ยนน้ำทุกครึ่งชั่วโมงเพื่อรักษาระดับความเย็นไว้ให้คงที่)
3) ใช้เตาอบไมโครเวฟ ถ้าต้องการประกอบอาหารทันที
χ คุณรู้หรือไม่? : ร้อยละ 23 ของตู้เย็นของผู้บริโภคมีความเย็นไม่เพียงพอ
*********************************************
1 ความคิดเห็น:
อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ให้คำปรึกษาและเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาทุกคน
แสดงความคิดเห็น