วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

~ความหมายของอาหาร ~

อาหาร (FOOD)

ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 "อาหาร" หมายถึง ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ซึ่งได้แก่
1.วัตถุทุกชนิดที่คนกินดื่มอมหรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ หรือในรูปลักษณะใดๆแต่ไม่รวมถึงยาหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น


2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสม ในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปน อาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส


ประเภทของอาหาร
1. อาหารควบคุมเฉพาะ

เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หากผลิตออกไม่ได้คุณภาพมาตราฐาน ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ก็จะเป็นอันตรายดังนั้นจึงจำเป็นต้องประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เช่น น้ำดิ่มควรบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท น้ำแข็ง ผลิตภัณฑ์ของนม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนั้นมีทั้งสิ้น 17 รายการ



2. อาหารที่กำหนดคุณภาพ หรือมาตราฐาน
มีกำหนดคุณภาพมาตราฐานเช่นเดียวกับอาหารกลุ่ม1 แต่การขอใบอนุญาตจะมีความเข้มงวดน้อยกว่า อาหารกลุ่ม1 เช่น ช็อกโกแลต ไข่เยี่ยวม้า น้ำมัน เนย น้ำปลา ชา กาแฟ เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 31 รายการ


3. อาหารที่ต้องฉลาก
เป็นอาหารที่กำหนดข้อความรายละเอียด ที่ต้องแจ้งบนฉลาก เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อ อาหารกลุ่มนี้มี 14 รายการ เช่น หมากฝรั่ง ลูกอม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

4. อาหารทั่วไป
คืออาหารนอกเหนือจากอาหาร 3 กลุ่มข้างต้น ในปัจจุบันเฉพาะฉลากของอาหาร 1-3 เท่านั้นที่มีการแสดงเลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย

.












~อาหารหลัก 5 หมู่ ~


ประเทศไทยเราได้ แบ่งอาหารออกเป็น 5หมู่ โดยจัดอาหารที่ให้สารอาหารคล้ายกัน เข้าไว้ในหมู่เดียวกัน เพื่อให้เราสามารถพิจารณาได้ว่าได้กินอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือไม่ อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้ หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย


อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้

หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ






หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย








หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ






หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3







หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย










































~ สารอาหาร ~



สารอาหาร คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน เข้าไป และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายสารอาหารที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถแบ่งออก ได้เป็น 6 ประเภท ด้วยกันคือ....
โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหมู่ที่ 1 คือ เนื้อสัตว์ต่าง ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง และนม การรับประทานอาหารที่มีโปรตีน มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโต และโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4กิโลแคลอรี่
ดังนั้น บุคคลที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต จึงต้องการสารอาหารโปรตีน มากกว่าวัยอื่น ๆ นอกจากโปรตีนจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแล้ว โปรตีนยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกประการหนึ่ง คือ ช่วยซ่อมแซม และเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
คาร์โบไฮเดรต
เป็นสารอาหารที่มีอยู่มากใน อาหารหลักหมู่ที่ 2 คือ อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล อาหารจำพวกแป้ง ที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรทมาก ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง แป้งขนมปังต่างๆ เผือก มัน ฯลฯนอกจากอาหารจำพวกแป้งแล้ว อาหารจำพวกน้ำตาล ยังให้สารอาหาร คาร์โบไฮเดรทมากอีกด้วย เช่น ลูกกวาด น้ำเชื่อม น้ำตาล น้ำผึ้ง ช็อกโกแลต ขนมหวาน ผลไม้ที่มีรสหวาน
ไขมันเป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหลักหมู่ที่ 5 คือ ไขมันและ น้ำมันจากพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดทานตะวัน กะทิ น้ำมันหมู น้ำมันไก่ เนย ฯลฯ
วิตามิน เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารหลายชนิด แต่มีมากในอาหารหลักหมู่ที่ 3 คือ ผักชนิดต่าง ๆ เช่น ตำลึง คะน้า มะเขือเทศ กะหล่ำปลี กระถิน มะเขือเทศ แครอท ฯลฯ นอกจากในผักชนิดต่าง ๆ แล้ว วิตามินยังมีมากในผลไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอาหารหลักหมู่ที่ 4 อีกด้วย เช่น ฝรั่ง กล้วย มะละกอ ส้ม มะม่วง องุ่น มังคุด สับปะรด พุทธา ฯลฯซึ่งในอาหารแต่ละชนิดจะให้วิตามินที่แตกต่างกันออกไป และวิตามินแต่ละชนิดก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปวิตามินที่ร่างกายต้องการมีหลายชนิดด้วยกัน แต่วิตามินที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 2 วิตามินซี วิตามินดี

วิตามินเอมีมากในน้ำมันตับปลา ไข่แดง นม ผักและผลไม้ที่มีสีแดง เหลือง และเขียว เช่น ฟักทอง แครอท มะละกอสุก ผักบุ้งฯลฯ



วิตามินบี1มีมากในข้าวซ้อมมือ เนื้อหมู ตับ ไข่ และถั่วต่าง ๆ การรับประทานอาหาร ที่มีวิตามินบี 1 เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย มีประโยชน์คือ ทำให้ระบบประสาททำงานได้ปกติและช่วยให้ป้องกันโรค

วิตามินบี 2มีมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง และผักใบเขียว ถ้าร่างกายขาดวิตามินบี 2 จะทำให้เป็นแผลที่มุมปาก ซึ่งเรียกว่า โรคปากนกกระจอก


วิตามินซีี มีมากในผักและผลไม้สด เช่น ตำลึง คะน้า กะหล่ำปลี พริกหยวก ผักบุ้ง มะเขือยาว ส้ม มะขามป้อม ฝรั่ง สับปะรด เชอรี่ ฯลฯ การรับประทานผักและผลไม้สดอยู่เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ อีกทั้ง ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเลือดออกตามไรฟัน ที่เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิดเหน็บชาได้อีกด้วย

วิตามินดี มีมากในน้ำมันตับปลา ไข่แดง นม ตับสัตว์ การรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรค กระดูกอ่อนอีกด้วย

เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น แคลเซี่ยม เหล็ก ไอโอดีน ที่ช่วยทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานปกติแล้วยังมีสารอาหาร อีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานปกติเช่นเดียวกับวิตามิน อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้อีกด้วย
เหล็ก เป็นเกลือแร่ที่มีมากในตับทุกชนิด เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และถั่วเมล็ดแห้ง การรับประทานอาหารที่มีเหล็กมาก มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ เหล็กจะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง




















































วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551



~ การเก็บและบรรจุอาหารที่ถนอมแล้ว ~



การเก็บรักษาและบรรจุอาหารหลังจากถนอมแล้ว ควรทำให้ถูกต้องเพราะอาหารจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม อาหารที่ถนอมแล้วจะเก็บไว้ได้นานหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา อาหารที่ถนอมแล้วซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ภาชนะบรรจุ และวิธีการบรรจุที่สะอาด และถูกหลักอนามัย จะปลอดภัยต่อ ชีวิตผู้บริโภค และไม่มีผลทำลาย สิ่งแวดล้อม
การบรรจุหีบห่อและการเก็บรักษา
ความสำคัญของการบรรจุหีบห่อการบรรจุหีบห่อมีความสำคัญต่อสินค้าทุกประเภท เพราะช่วยป้องกัน และรักษาคุณภาพของสินค้าให้เหมือนเดิม มากที่สุดสะดวก ต่อการ ขนส่ง การเก็บรักษา ทั้งยังเป็นตัวกลาง ในการให้ข้อมูล เกี่ยวกับสินค้า ที่บรรจุภายใน นอกจากนี้การบรรจุหีบห่อ ยังเป็นการส่งเสริม การขาย อีกวิธีหนึ่งด้วย
การเลือกภาชนะบรรจุ
ภาชนะสำหรับบรรจุน้ำพริกเมืองเหนือนิยมใช้ใบตอง ถุงพลาสติก สำหรับการขายปลีกหรือการขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ระยะเวลา ในการขนส่งหรือการจำหน่ายอยู่ในระยะสั้นการใช้ใบตองห่อ เป็นการ บรรจุหีบห่อที่มีมาแต่โบราณ เป็นวิธีบรรจุหีบห่อ ที่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลด ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายยาก จำพวก พลาสติก ชนิดต่าง ๆ สำหรับการขายส่ง ตามห้างร้าน ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ นิยมบรรจุ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ซึ่งจะใช้ขวดที่มีลักษณะ ปากกว้าง สามารถ ใช้ช้อนหรือ อุปกรณ์อื่นตักออกจากขวดได้
การเก็บรักษาและบรรจุอาหารที่ถนอมด้วยการตากแห้ง

เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก พริกแห้ง เป็นต้น ควรเก็บในภาชนะที่แห้งหรือโปร่ง เช่น
กล้วยตาก เก็บไว้ในขวดโหล หรือกล่องพลาสติกเรียงลำดับให้ดี มีฝาปิดให้เรียบร้อย เวลาจะรับประทานควรใช้ซ่อมจิ้ม ถ้าใช้มือหยิบต้องสะอาดและแห้ง จะทำให้ของเก็บได้นานไม่เน่าเสียเร็ว
เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ให้แขวนไว้ในที่โปร่ง จะทำให้ไม่ขึ้นรา ปัจจุบันสามารถเก็บใส่ถุงพลาสติกและใส่ไว้ในตู้เย็นก็ได้
พริกแห้ง ใส่ตะกร้าโปร่งๆผึ่งไว้จะเก็บได้นาน ถ้าใส่ภาชนะที่อับจะทำให้เกิดความชื้น จนขึ้นราและเสียง่าย ถ้าใส่ถุงควรเจาะรูรอบถุงเพื่อให้อากาศถ่ายเทไม่อับชื้น
การเก็บรักษาและบรรจุอาหารที่ถนอมด้วยการดอง เช่นหัวผักกาดเค็ม มะนาวดอง ควรใส่ขวดหรือภาชนะที่เป็นแก้ว ถ้าจะให้เก็บได้นานมากขึ้น ควรใช้ขวดประเภทอัดความดัน
หัวผักกาดเค็ม ให้เก็บในภาชนะที่เป็นกระเบื้อง หรือดินเผาชนิดเคลือบ หรือภาชนะแก้ว ถ้าใช้ภาชนะอื่นความเค็มจะกัดภาชนะที่บรรจุให้ผุกร่อนได้
ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น อาหารประเภทนี้ใช้บรรจุใส่กระป๋อง ซึ่งข้างในเป็นสูญญากาศ ทำให้เก็บถนอมอาหารไว้ได้นาน แต่ราคาจะแพงเพราะมีกรรมวิธีในการผลิตที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง ไม่เหมือนกับบรรจุใช้ในครัวเรือน


~ การเก็บรักษาอาหาร ~






การเก็บรักษาอาหาร
อาหารบางอย่าเก็บไว้ได้ไม่นานจะเสียเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น อาหารจะเหี่ยว เน่า เสียเร็ว เช่น เนื้อสัตว์ ผักรับประทานใบ หรือผลไม้สุก การเน่าเสียของอาหารเนื่องมาจาก เนื้อเยื้อในอาหารนั้นถูกกระทำจากสภาพแวดล้อม เช่น น้ำในผักระเหยออกไปจึงทำให้ผักเหี่ยว จุลินทรีย์ในอากาศ เป็นตัวทำให้เนื้อสัตว์บูดเน่า การรับประทานอาหารที่เน่าเสีย จะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้อาหารที่ซื้อมาจากตลาด ควรเก็บไว้บนชั้น

ตู้เย็นหรือตู้แช่แข็ง แต่ไม่ว่าจะเก็บอาหารไว้ที่ใดก็ตาม ที่นั้นจะต้องแห้ง ไม่ร้อน และต้องสะอาด ก่อนจะนำมาทำอาหาร ต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นอยู่ในสภาพดี ไม่เน่าเสีย รับประทานได้ อาหารต่างชนิดกันจะมีวิธีการเก็บรักษามีดังนี้

การเก็บรักษาอาหารประเภทเนื้อสัตว์

ถ้าที่บ้านมีตู้เย็นการซื้อเนื้อสัตว์ทีละมาก ๆ ควรล้างให้สะอาดทั้งก้อน แล้วนำมาหั่นเป็นก้อนหรือแล่เป็นชิ้นเล็ก ๆ เก็บใส่ถุงพลาสติกหรือห่อด้วยกระดาษไข นำไปใส่กระบะใต้ชั้นทำน้ำแข็ง เวลาจะรับประทานจึงนำออกมาตามปริมาณที่ใช้แต่ถ้าที่บ้านไม่มีตู้เย็นก็ให้แกะเอาเนื้อสัตว์ออกจากถุงแล้วนำไปแขวนไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือหั้นเป็นชิ้นรวมกันไว้เพื่อประกอบอาหารในมื้อต่อ ๆ ไปได้




การเก็บรักษาอาหารประเภทผักและผลไม้

ผักสด เป็นของสดที่ช้ำ เน่าเสียและเหี่ยวง่าย ถ้าต้องการเก็บผักไว้รับประทานนาน ๆ ควรปฏิบัติดังนี้การเก็บด้วยวิธีธรรมชาติ ให้เลือกผักส่วนที่เน่าและมีตำหนิทิ้งไปแล้วล้างผักให้สะอาด สำหรับผักที่มีราก เช่น ผักบุ้งและผักชี แช่รากผักไว้ในน้ำเย็น ส่วนผักที่ไม่มีรากเก็บไว้ในกะละมังวางเรียงกันโดยเอาโคนผักแช่น้ำ แล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดพอหมาดคลุมยอดผักไว้ พรมน้ำให้เปียกเป็นครั้งคราววางไว้ที่ร่มและไม่มีลมโกรกแรงมากนักเก็บไว้ในตู้เย็น ให้เลือกผักส่วนที่เน่าและเป็นโรคทิ้งไป แช่ผักในน้ำสะอาดที่ผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจากนั้นทิ้งผักให้เสด็จน้ำในกระชอน เก็บผักลงในถุงพลาสติกใสที่เจาะรูให้อากาศถ่ายเทได้ และนำถุงผักไปเก็บไว้ในชั้นล่างสุดของตู้เย็นไม่ควรเก็บผักไว้ในที่เย็นจัด เพราะความเย็นจะทำให้ผักช้ำและเน่าเสียง่ายผลไม้ ผลไม้ที่รับประทานทั้งเปลือก เช่นชมพู่ พุทรา ฝรั่ง ถ้าเก็บไม่ดีจะเป็นรอยขีดข่วนช้ำได้ง่าย และมีการเน่าเสียเกิดขึ้นมาก จึงต้องแยกเก็บต่างหากจากผลไม้ที่ต้องปอกเปลือกก่อนรับประทาน เช่นกล้วย ส้ม มะม่วง เป็นต้น การเก็บ ควรเก็บในที่เย็น มีความชื้น มีการระบายเช่นเดียวกับการเก็บผัก

การเก็บรักษาอาหารประเภทไขมัน
ควรเก็บน้ำมันไว้ในภาชนะทิ่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการเหม็นหืน น้ำมันที่ใช้แล้วจะเก็บไว้ใช้อีกควรกรองเอาเศษอาหารออกก่อนน้ำมันที่มีลักษณะเหนียว เนื่องจากผ่านการใช้หลายครั้งแล้วไม่ควรนำมาบริโภคเพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เนยเหลวและเนยแข็ง ใส่กล่องพลาสติก เก็บไว้ในตู้เย็น ในบริเวณที่มีความเย็นปานกลาง ถ้าเย็นจัดเนยจะแข็งเกินไป ทำให้เสียเวลาในการรอให้เนยอ่อนตัวเมื่อต้องการใช้

การเก็บรักษาอาหารประเภทข้าวและแป้ง

วิธีทำให้ข้าวเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสียและป้องกันไม่ให้มีกลิ่นเหม็น คือ หมั่นนำข้าวที่บรรจุอยู่ในภาชนะตากแดด แล้วเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทป้องกันฝุ่นละอองและแมลง แป้งก็เช่นเดียวกับข้าว หมั่นนำออกผึ่งแดดไล่ความชื้นแล้วเก็บใส่ขวดปิดฝาสนิท








การเก็บรักษาอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง



ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากยังขาดความเข้าใจใน เรื่อง ผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการแช่เยือกแข็ง ต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพของอาหารทะเล ทำให้สถาบันเทคโนโลยีสัตว์น้ำ (CIFT) มหาวิทยาลัยดาลเฮาส์ซี (Dalhousie University) ประเทศแคนาดา ได้เข้ามาส่งเสริม การจัดการที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเล

การเปลี่ยนแปลงของอาหารทะเลแช่เยือกแข็งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีตามธรรมชาติ ทำให้เนื้อสัมผัสเหนียวและแห้ง และเกิดกลิ่นรสที่ไม่พึงปรารถนา อัตราการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก โดยอุณหภูมิยิ่งต่ำลงเท่าใดจะช่ยทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลง ช้าลงเท่านั้นและอัตราการเปลี่ยนแปลงจะสูงในช่วงอุณหภูมิ -5 องศาเซลเซียส
ตามความเป็นจริงแล้วอุณหภูมิไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ใช้เป็นตัวกำหนดอัตราการเสื่อมเสีย แต่เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ การใช้บรรจุภัณฑ์และการทำเคลือบผิวด้วยน้ำแข็ง




ปัจจัยในการเก็บรักษา


อุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียสเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาปลา โดยได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์มากว่า 40 ปี (ยกเว้นการเก็บรักษาปลาทูน่าในประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่าเล็กน้อยเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสี)
อย่างไรก็ตาม การกำหนดเพียงอุณหภูมิในห้องเย็น อุณหภูมิตู้สำหรับบรรทุกสินค้า หรืออุณหภูมิตู้สำหรับปลาแช่เยือกแข็งยังไม่เพียงพอ เนื่องจากอุณหภูมิของตัวผลิตภัณฑ์เองเท่านั้นที่เป็นตัวกำหนดอัตราการเสื่อมสภาพ ผลิตภัณฑ์ควรจะมีอุณหภูมิต่ำลงจนถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ก่อนนำมาเก็บรักษา เพราะปกติห้องเย็นที่ใช้เก็บรักษาจะต่ำมาก นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน การลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิที่เก็บรักษาแล้วมักได้รับผลกระทบจาก ความร้อนที่ออกมาจากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ติดกันและยังไม่ผ่านการลดอุณหภูมิอย่างเพียงพอ ดังนั้นการแช่เยือกแข็งที่ดีและการจัดการก่อนการเก็บรักษาจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน





การแช่แข็งและการขนถ่าย





ในการแช่เยือกแข็งนั้นสิ่งที่เราได้ทราบมานานแล้วนั่นคือ ความสัมพันธ์ ของอัตราเร็วในการแช่เยือกแข็งกับคุณภาพของอาหารแช่เยือกแข็งที่ได้ หรือบางครั้งอาจให้ความสำคัญกับการเกิดผลึกน้ำแข็งหรือการสูญเสียน้ำ โดยทั่วไปแล้วเมื่อเราให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เวลา ในการแช่เยือกแข็งผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยมีผลเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าระยะเวลาที่ใช้ในการแช่เยือกแข็งไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง การแช่เยือกแข็งแบบรวดเร็ว นอกจากจะช่วยทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ออกมาดีแล้วนั้น ยังทำให้เกิดกระบวนการผลิตที่เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพอีกด้วย จึงทำให้การเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์มักไม่ได้เกิดในช่วงการแช่เยือกแข็งที่ใช้เวลาสั้น แต่มักเกิดขึ้นในช่วงการเก็บรักษาการขนส่งและการกระจายสินค้ามากกว่า
หน้าที่สำคัญของเครื่องแช่เยือกแข็งคือทำให้ ผลิตภัณฑ์เย็นตัวลงถึงอุณหภูมิที่ต้องการในการเก็บรักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญแต่มักจะปฏิบัติไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อต้องการเก็บในปริมาณมากๆ ทั้งๆ ที่สามารถตรวจสอบอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์และ ระยะเวลาการแช่เยือกแข็งได้ไม่ยาก
ปลาที่ไม่ได้ลดอุณหภูมิอย่างเพียงพอมักเกิดการเสื่อมเสียอย่างเห็นได้ชัด การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ซึ่งยังเย็นไม่พอ มักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำที่เรียกว่า Freeze burn ดังนั้นจึงควรที่จะพิจารณา แยกกันระหว่างการแช่เยือกแข็งและการเก็บรักษาในห้อง การใช้คำว่า Freezer สำหรับห้องเย็นที่ใช้เก็บรักษาที่ใช้กันมานานแต่ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากคำนี้มาจากวิธีการแช่เยือกแข็งในอดีต ที่มักใช้ในห้องเดียวกันทั้งการแช่เยือกแข็งและการเก็บรักษา
นอกจากนี้ในช่วงการขนถ่ายและการกระจายสินค้าจำเป็นที่ต้อง มีการรักษาอุณหภูมิของปลาแช่เยือกแข็งไว้ที่อุณหภูมิต่ำ จนกระทั่งถึงขั้นตอนการละลายก่อนนำผลิตภัณฑ์มาใช้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในการกระจายสินค้าและการจำหน่ายปลีกจะสูงกว่า -30 องศาเซลเซียสมาก ดังนั้นควรใช้เวลาในช่วงนี้ให้สั้นที่สุด แต่การปฏิบัติในปัจจุบันยังไม่ได้เป็นไปได้อย่างที่ต้องการ
การที่อุตสาหกรรมอาหารทะเล จำเป็นต้องใช้การแช่เยือกแข็งและการเก็บรักษา ในห้องเย็นทำให้จำเป็นต้องอาศัยการปฏิบัติในห้องเย็นที่ดีและทั่วถึง โดยเฉพาะหากต้องการให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สูงอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ตัวอุตสาหกรรมเอง สามารถจะทำให้เกิดการพัฒนาได้หากผู้แปรรูปและ ผู้ควบคุมห้องเย็นยอมรับและนำเอามาตรฐานที่จำ เป็นมาปฏิบัติและต้องบังคับให้ผู้กระจายสินค้าและ ผู้ค้าปลีกรักษามาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่สูงไว้อยู่ในระดับสูง















วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

การเลือกซื้อผักและผลไม้

พิจารณาจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่
เลือกซื้อตามฤดูกาล การเลือกซื้อผักที่เป็นหัว มีดังนี้

เผือก มัน เลือกที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบ
ผักกาดหัว เลือกหัวอ่อน ๆ ผิวเรียบไม่งอ
กะหล่ำปลี เลือก หัวแน่น ๆ และมีน้ำหนักมาก
หอมใหญ่ เลือกหัวแน่น ๆ เปลือกแข็ง


การเลือกซื้อผักที่เป็นฝัก
ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อน ๆ สีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน มี เมล็ด เล็ก ๆ ข้างใน อันตรง ๆ ไม่คดงอ
การเลือกซื้อผักที่เป็นใบ
ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฯลฯ เลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และมีหนอน ต้นใหญ่อวบ ใบแน่นติดกับโคน
การเลือกซื้อผักที่เป็นผล
มะเขือเปาะ เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว
แตงกวา แตงร้าน ลูกที่มีน้ำหนักสีเขียวอ่อน ลูกยาว ผิวนวล ไม่มีรอยช้ำ
มะนาวเลือกผิวบางเรียบ ไม่เหี่ยว - ฟักทอง ผลหนัก แน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ

การเลือกซื้อผักผลไม้ให้ได้ประโยชน์ที่สุด
ผักและผลไม้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย ซึ่งมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย การเลือกซื้อผักผลไม้ให้ได้ของดีไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งเราเสียเงินซื้อผักผลไม้ไปเป็นจำนวนมากเพื่อหวังจะได้ของดีมา แต่เนื่องจากการขาดความรู้ในเรื่องการเลือกซื้อผักผลไม้ ทำให้ได้ของไม่ดีมา เสียทั้งเวลาและเสียความรู้สึก

ผักและผลไม้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่อง สารอาหาร ปริมาณ ราคา รสชาติ ในความแตกต่างเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการเลือกซื้อ มีคำแนะนำที่พอจะเป็นแนวทางในการเลือกซื้อผักผลไม้ให้ได้ประโยชน์ที่สุดดังต่อไปนี้

1. ให้เลือกซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาล ผักและผลไม้ที่เติบโตออกดอก-ผลตามฤดูกาล แสดงว่าในฤดูกาลนั้น สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพน้ำ และอุณหภูมิ มีความเหมาะสมกับผักและผลไม้ที่ออกดอก-ผลในช่วงฤดูกาลนั้น ๆ การเลือกซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาลจึงสามารถเลือกซื้อได้ในราคาถูก ได้ผักและผลไม้ที่มีคุณภาพดี รสชาติอร่อย พูดได้ว่าเป็นการได้ของดีในราคาไม่แพง

2. ให้เลือกซื้อผักผลไม้ที่สด-ใหม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนเคยได้ยินกันมามากที่สุดว่า การเลือกซื้อผักผลไม้ให้เลือกที่สดและใหม่ ยิ่งเพิ่งเก็บมาจากแปลงเลยได้ยิ่งดี เพราะผักและผลไม้เป็นผลิตผลทางการเกษตร ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน การเก็บผักและผลไม้ไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความสด วิตามิน สารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ที่อยู่ในผักและผลไม้ จะค่อย ๆ ถูกทำลายไปตามระยะเวลาที่เก็บ ความสด กรอบ ของผักและผลไม้จะลดลง การเลือกซื้อผักผลไม้เพื่อให้ได้ผักและผลไม้ที่สด-ใหม่ ควรเลือกที่ ผิวตึง น้ำหนักดี สีเขียวสด
ลำต้นตรง ไม่เหี่ยวงอ ฯลฯ

3. ถ้าสามารถรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเหล่านี้ได้ก็จะเป็นประโยชน์กับการเลือกซื้อผักผลไม้ได้มากขึ้น เช่น ระยะเวลาปลูก ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผักและผลไม้ที่คุณภาพดีต้องมีอายุที่เหมาะสม ระยะเวลาปลูกและวิธีการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงอย่างถูกต้อง เช่นต้องฉีดยาฆ่าแมลงก่อนเก็บอย่างน้อย 2 อาทิตย์ จะทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ที่เก็บมา ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถเลือกซื้อผักผลไม้ได้ของที่มีคุณภาพดี

4. ให้เลือกซื้อผักผลไม้ตามลักษณะเฉพาะของผักและผลไม้นั้น ๆ นอกจากความสด-ใหม่แล้ว เราต้องรู้ถึงคุณลักษณะเฉพาะของผักและผลไม้ที่เราจะเลือกซื้อว่า ลักษณะที่ดีของผักและผลไม้ชนิดนั้นเป็นอย่างไร ผักและผลไม้บางอย่างต้องบริโภคขณะยังอ่อน แต่ผักและผลไม้บางอย่างควรบริโภคตอนแก่จัด ลักษณะเฉพาะของผักและผลไม้จะส่งผลต่อรสชาติและคุณภาพของผักและผลไม้ชนิดนั้น ๆ

5. สภาพผักและผลไม้ที่เราจะเลือกซื้อ ให้ดูจากการขนส่ง การบรรจุภัณฑ์ การรักษาอุณหภูมิ ปัจจัยเหล่านี้ไม่จำเป็นเลยถ้าเราอยู่ใกล้แหล่งปลูกผักและผลไม้ แต่ในความเป็นจริงผักและผลไม้จะถูกขนส่งมาจากที่ต่าง ๆ ดังนั้นการบรรจุภัณฑ์ การรักษาอุณหภูมิและระยะเวลาการขนส่งจึงมีผลต่อสภาพผักและผลไม้เป็นอย่างมาก



วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551


อาหารกระป๋อง

อาหารกระป๋องเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ทำให้เก็บอาหารไว้ได้นานไม่เน่าเสีย โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สามารถทำลายและยับยั้งการขยายพันธุ์ของเชื้อโรคและบรรจุในกระป๋องที่เป็นโลหะและปิดสนิท
การเลือกอาหารกระป๋อง ให้สังเกตลักษณะต่างๆ ดังนี้
ลักษณะภายนอก
ฉลาก : ชื่ออาหารและเลขทะเบียนอาหาร
ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต
น้ำหนักหรือปริมาตรสุทธิ
วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ
ชนิดและปริมาณวัตถุเจือปน (ถ้ามีการใช้)
ตัวกระป๋อง :ต้องสะอาด ฝาและก้นกระป๋องต้องไม่บุบหรือบวม
ไม่มีรูรั่วหรือเป็นสนิม โดยเฉพาะที่รอยตะเข็บ
ลักษณะภายใน
อาหาร
-ไม่มีสี กลิ่นและรสที่ผิดไปจากสภาพของอาหารนั้นๆ เช่น มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เหม็นหืน หรือมีสีคล้ำผิดไปจากธรรมชาติของอาหารนั้นๆ
ตัวกระป๋อง
-ไม่มีลมดันขณะที่เปิด แต่ควรมีลมดูดเข้าไปในกระป๋อง
-ผิวด้านในควรเรียบ ไม่มีรอยเส้นหรือรอยด่าง ซึ่งแสดงว่ามีการกัดกร่อน
-อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ผักดอง ควรเป็นกระป๋องที่มีแลคเกอร์เคลือบด้านใน
การใช้
-อาหารบางชนิดที่ก่อนบริโภคต้องการอุ่น ควรถ่ายใส่ภาชนะหุงต้ม ก่อนนำไปให้ความร้อน เพื่อป้องกันดีบุกหรือแลคเกอร์ที่เคลือบภายในปนเปื้อนลงในอาหาร
วิธีเก็บ
-อาหารกระป๋องที่เปิดแล้วและเหลือใช้ ควรถ่ายใส่ภาชนะอื่น เช่น ภาชนะแก้วมีฝาปิดแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น
-ไม่ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้นาน ควรเลือกบริโภคอาหารกระป๋องที่ยังอยู่ในสภาพดี ถ้าเก็บไว้นานๆ ควรสังเกต วัน เดือน ปี ที่หมดอายุด้วย
-เพื่อป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ และเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของอาหารเนื่องจากเอนไซม์ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้ในที่แห้งและเย็น แต่ไม่อับชื้นและไม่ถูกแสงแดดป้องกันการเสียและเป็นสนิมเร็วกว่าปกติ
-เก็บไว้ในที่สูงมากกว่า 60 ซม. ป้องกันความสกปรกจากพื้นและสัตว์นำโรค
แม่บ้านที่ต้องซื้ออาหารกระป๋องอยู่บ่อย ๆ วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีเลือกซื้ออาหารกระป๋องมาบอกกัน...
- ให้สังเกตดูลักษณะของกระป๋อง ถ้าด้านบนหรือด้านล่างมีรอยปูดหรือบุบ แสดงว่าอาหารในกระป๋องเสียหรือเสื่อมคุณภาพแล้ว
- ใช้นิ้วดีดบนกระป๋องแล้วสังเกตฟังเสียงที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นอาหารกระป๋องจำพวกผลไม้ เสียงที่เกิดขึ้นควร เป็นเสียงดังใสกังวาลจึงจะดี แต่ถ้าเป็นอาหารกระป๋องจำพวก ผัก เนื้อ ปลา ควรมีเสียงหนัก ๆ ซึ่งแสดงว่าอาหารในกระป๋องยังสดดีอยู่
- ให้สังเกตวันหมดอายุ หรือวันที่ผลิตซึ่งระบุไว้บนฝา กระป๋องหรือใต้กระป๋อง
- ถ้าซื้อมาแล้วเปิดออกพบว่า ภายในกระป๋องมีฟองอากาศ ไม่ควรรับประทาน
- อาหารที่ยังใช้รับประทานได้ ถ้าเติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย จะช่วยให้รสดีขึ้น

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551















~ วิธีการถนอมอาหาร ~




วิธีการถนอมอาหารในบางฤดูกาลมีผลผลิตประเภทอาหารมากมาย ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารสดๆได้หมด แต่เราสามารถเก็บรักษาอาหารนั้นไว้รับประทานต่อไปได้ด้วยวิธีการถนอมอาหาร ซึ่งการเลือกวิธีการถนอมอาหารที่เหมาะสมจะทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน และสามารถรับประทานได้ตลอดฤดูกาล โดยที่อาหารไม่บูดเน่าเสียหรือต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์
การถนอมอาหารโดยตากแห้ง

การถนอมอาหารเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ โดยนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุดเพื่อให้เอนไซม์ในอาหารไม่สามารถทำงานและบัตเตรีไม่สามารถที่เจริญเติบโตได้ในของแห้งสำหรับวิธีการตากแห้งอาจใช้ความร้อนหรือความร้อนจากแหล่งอื่น เช่น ตู้อบ เป็นต้นถ้าใช้แสงแดดควรมีฝาชีหรือตู้ที่เป็นมุ้งลวดป้องกันแมลงและฝุ่นละออง อาหารที่ผ่านวิธีการตากเเห้งแล้ว เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น




การดอง
การดองเป็นการถนอมอาหารโดยใช้สารปรุงแต่งให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน หรือมีรสผสมทั้งเปรี้ยว เค็ม หวาน อุปกรณ์ที่ใช้ดองควรเป็นพวกเครื่องแก้ว ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น หม้อ อะลูมีเนียม เป็นต้น เพราะในขณะดองอาจมีกรดเกิดขึ้นซึ่งกรดพวกนี้จะทำปฏิกิริยากับโลหะทำให้เกิดสารพิษในอาหรสำหรับปรุงรสที่ใช้ ได้แก่ เกลือ น้ำตาล น้ำส้มบริสุทธิ์ ส่วนอาหารที่ใช้วิธีดอง เช่น มะม่วงดอง ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง เป็นต้น









การถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาล

การถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลนิยมใช้กับพวกผลไม้ โดยทั่วไปแล้วผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะนิยมใส่น้ำตาลมาก การใช้น้ำตาลเพื่อการถนอมอาหารมีหลายวิธี ดังนี้











กล้วยเชื่อม มันเชื่อม


การเชื่อม
ใช้ความเข้มข้นของน้ำตาลแตกต่างกันตามอัตราส่วน ดังนี้

1.น้ำเชื่อมใส ใช้น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 3 ถ้วย
2.น้ำเชื่อมปานกลาง ใช่น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 2 ถ้วย
3.น้ำเชื่อมเข้มข้น ใช้น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 1ถ้วย
การเชื่อมนิยมใช้กับผลไม้บรรรจุกระป๋อง หรือขวด ที่เรียกว่า ลอยแก้ว เช่น เงาะกระป๋อง ลิ้นจี่กระป๋อง เป็นต้น
ารทำแยม






เป็นการใส่น้ำตาลในเนื้อผลไม้ที่มีน้ำปนอยู่ส่วนมาก แล้วกวนให้เข้ากัน เช่น แยมส้ม แยมสับปะรด เป็นต้น







การกวน

นิยมใช้กับผลไม้ โดยใส่น้ำตาลปริมาณมาก และกวนจนเนื้อผลไม้แห้งสามารถปั้นหรือบรรจุห่อได้ เช่น ส้มโอกวน สับปะรดกวน กล้วยกวน เป็นต้น






การแช่อิ่ม



เป็นการใส่น้ำตาลในปริมาณมาก โดยการแช่ในน้ำเชื่อม และเพิ่มความเข้มข้น ของน้ำเขื่อมจนถึงจุดอิ่มตัว แล้วนำมาทำแห้ง สมัยก่อนนิยมใช้วิธีการถนอมอาหารนี้กับผลไม้ ปัจจุบันนำผักหลายชนิดมาแช่อิ่ม แล้วจัดจำหน่ายจนเป็นที่นิยมในท้องตลาดเช่น ลูกตำลึง ก้านบอระเพ็ด ลูกมะกรูด เป็นต้น



















































วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551







ในภาวะเร่งรีบ ทำให้เราให้ความสำคัญกับอาหารแต่ละมื้อไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้ามักจะเป็นมื้อที่หลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญ และบางคนก็ไม่ทานอาหารเช้าเลยก็มี

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญมากนะครับ และสำคัญมากที่สุดด้วยเพราะในระหว่างที่เรานอนหลับกว่าจะตื่นขึ้นมา ก็เป็นเวลาหลายชั่วโมงนั่นก็คือร่างกายต้องอดอาหารนานมาก เป็นเวลา 8 - 10 ชั่วโมงเลยทีเดียว ดังนั้นร่างกายของเราจึงต้องการพลังงานอย่างมากครับ ในการที่จะออกไปเผชิญกับการงานหรือการเรียนที่หนักหน่วงในช่วงกลางวัน

ครับ..ร่างกายของเราต้องการพลังงาน...สมองของเราก็ต้องการพลังงานเช่นกัน
ครับ...และพลังงานที่สมองต้องการที่สุดก็คือน้ำตาลกลูโคส น้ำตากลูโคสนี้...เราจะได้จากอาหารจำพวกแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรตครับ ดังนั้นอาหารมื้อเช้าของเราควรจะมีอาหารพวกนี้ด้วยครับ..

ดังนั้น..บางคนที่กินโปรตีนอัดเม็ด..หรือซุบไก่สกัด..เป็นอาหารเช้า...แล้วคิดว่าจะสมองดีแล้วละก็..คิดผิดครับ

ส่วนอาหารมื้อเช้าของแต่ละท่าน จะเป็นอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความชอบนะครับแต่ข้อให้มีคุณค่าทางอาหารบ้างและมีกากใยอาหารบ้างเป็นพอ






การที่เราไม่ทานอาหารเช้านั้นย่อมก่อให้เกิดผลเสียอย่างแน่นอนครับ เช่น อาจทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ อันนี้เป็นกันบ่อยนะครับ หรือบางที การไม่ได้ทานอาหารเช้าทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ทำให้เกิดอาการง่วงนอน สมองไม่แล่น และในคนที่มีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นอันตรายมากๆได้

สุดท้ายนี่ก็อยากลืมนะครับว่าการทานอาหารเช้านั้น เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะจะทำให้ร่างกายและสมองของเราสดชื่น เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับทุกปัญหาและสถานการณ์ครับ


>(((ความสำคัญของอาหารมื้อเช้า)))<


การไม่กินอาหารเช้า เป็นเหตุพื้นฐานที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่เรามองข้ามไป คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เคยปฏิบัติอยู่เป็นประจำไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย อาหารมื้อเช้า เป็นอาหารมื้อที่สำคัญที่สุด ที่ร่างกายต้องการสารอาหารในช่วงเวลา 07.00 - 09.00 น. ระหว่างเวลานี้สมองและใบหน้าของคนเราต้องการเลือดและออกซิเจน เป็นอาหารบำรุงส่งไปเลี้ยงสมอง ถ้าไม่กินข้าวเช้า ก็จะไม่มีเลือดมารับออกซิเจน ส่งขึ้นไปเลี้ยงสมอง เพราะสมองต้องการกรดอะมิโนไปบำรุงเซลล์สมอง รวมถึงวิตามินบี 1, บี 6, และบี 12 มื้อเช้าถ้าไม่มีเวลาจริงๆก็ควรกิน สูตร โยเกิร์ต + นมสด + น้ำผึ้ง + มะนาว และกล้วย 1 ลูก


เริ่มต้นมื้อเช้าคุณภาพ


# การกินอาหารเช้าอาจช่วยให้มีพลังความสามารถเพิ่มมากขึ้นในช่วงสายหรือกลางวัน มีสมาธิในการทำงานและแก้ปัญหา มีความสนใจได้ยาวนานกว่า ทั้งยังช่วยลดความหงุดหงิดและเพิ่มความอดทนอดกลั้นได้ดีกว่าด้วย เอาล่ะ เมื่อเราเห็นประโยชน์แล้ว ก็หันมาใส่ใจกับอาหารเช้าได้แล้ว

# วางแผนไว้ล่วงหน้า ปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการของอาหารเช้าให้ประสบความสำเร็จ คือการเตรียมการไว้ล่วงหน้าสักหนึ่งคืน และใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในช่วงเช้าเพื่อลงมือจัดอาหารเช้าที่ง่ายและได้ประโยชน์ครบถ้วน ช่วยสร้างความรู้สึกสนุกสนาน การเลือกรับประทานอาหารอย่างฉลาดและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน สำหรับการเริ่มต้นใหม่ จะช่วยทำให้เวลาที่เหลือในวันนั้นมีศักยภาพมากขึ้น

# เลือกอาหารเช้าอย่างง่าย คนส่วนใหญ่มักอ้างเหตุผลของการไม่ทานอาหารเช้าเพราะ “ไม่หิว” หรือ “ไม่มีเวลา” แต่อุปสรรคนั้นแก้ไขได้ง่ายเพียงแค่เลือกเมนูอาหารเช้าที่ปรุงง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก สำหรับคนที่ชินกับการไม่ทานอาหารเช้า เริ่มจากกินนิดๆ หน่อย ๆ ปริมาณน้อย ๆ และตั้งใจทำให้กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของคุณให้ได้ก็พอ






วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551




คุณค่าอาหารจากปลา

ปลานั้น เป็นอาหารที่มีความสำคัญ และมีบทบาทในการดำรงชีวิต ของคนไทยมานาน นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับว่าคนไทย รู้จักเลือกอาหารจากแหล่งธรรมชาต ิมาบริโภคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ปลานั้น เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากมาย มีคุณค่าโภชนาการสูง มีไขมันต่ำหาง่าย ทำอาหารได้อร่อยหลายอย่าง จึงเหมาะสม สำหรับนำมาประกอบเป็นอาหารของคนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ทารกอายุ 4 เดือน ขึ้นไปจนถึง ผู้สูงอายุ คุณค่าทางโภชนาการของปลาที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ

คุณค่าทางด้านโปรตีน ปลาเป็นแหล่งอาหาร ที่ให้สารโปรตีนที่มีคุณภาพดี กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณและคุณภาพ ของโปรตีนและไขมันในปลาชนิดต่างๆ พบว่า ปลาทู เมื่อเปรียบเทียบ กับปลาอื่นๆ มีกรดอะมิโนที่จำเป็น ต่อร่างกายเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วย ปลาทูจะมีสูงกว่าแทบทั้งสิ้น และพบว่าในปลา 20 ชนิด ที่คนทั่วไปนิยมบริโภค มีปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่างร้อยละ 14.4-23.0 กรัม โปรตีนในเนื้อปลาจะเป็นโปรตีน ที่ย่อยง่าย เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทารก เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ระบบการย่อยอาหาร ทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื้อปลาโดยลักษณะตามธรรมชาติมี เนื้อเยื่อเกี่ยวพันน้อยกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เมื่อเนื้อปลาสุกจะแยกออกเป็นชิ้นๆ ตามมัดของกล้ามเนื้อเกี่ยวพัน เนื้อปลา จึงนุ่ม ไม่เหนียวและหดตัวมากเหมือนเนื้อสัตว์อื่นๆ

คุณค่าทางด้านไขมัน นอกจากคุณค่าทางด้านโปรตีนแล้ว ปลายังมีคุณค่าทางด้านไขมัน เนื้อปลาประกอบด้วย ไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไลโนเลอิค ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับของโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด และการช่วยเร่งการเผาผลาญโคเลสเตอรอลนี้ ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง จึงมีส่วนลดอัตราการตายของโรคหัวใจด้วย นอกจากนี้ยังประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย 2 ชนิด ได้แก่ กรดอีโดซาเปนทีโนอิด หรือ อี พี เอ ที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมอง ปลา จึงเป็นอาหารที่มีคุณค่า ต่อสมองอย่างยิ่ง ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาเป็นสาร ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ แต่จะได้จากการกินเนื้อปลา

คุณค่าทางด้านวิตามินและแร่ธาตุ เนื้อปลา นอกจากจะให้คุณค่า ด้านโปรตีนและไขมันแล้ว ยังให้วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ อีก ซึ่งคุณค่าด้านวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ อีก ซึ่งคุณค่าด้านวิตามิน นั้น เนื้อปลา ประกอบด้วยวิตามินบีหนึ่ง บีสอง และไนอะซิน ที่มีความจำเป็น ต่อการใช้ประโยชน์ของคาร์บอนโบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพ ในการประกอบการงานและการเรียนรู้

คุณค่าทางด้านแร่ธาตุ ปลาประกอบด้วยธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่พอดี ต่อการสร้างกระดูกและฟัน มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดโลหิต ป้องกันโรคโลหิตจาง ส่วนปลาทะเลมีธาตุไอโอดีน ซึ่งช่วย ป้องกันโรคคอพอก ปลานอกจากจะให้คุณค่า ทางโภชนาการต่อร่างกายแล้ว จะต้องเป็นปลาที่ผ่านการประกอบอาหาร ให้สุกด้วยความร้อน การกิน ปลาดิบ จะให้โทษต่อร่างกาย เนื่องจากปลาดิบมีพยาธิตัวจี๊ดจะไช ไปตามกล้ามเนื้อ ผิวหนังและอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย

ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อาหารต่างๆ ราคาสูงขึ้น แต่ปลาก็ยังนับว่าเป็นแหล่งอาหาร ที่ราคาถูกกว่าอาหารอื่นๆ ที่มีคุณค่าทัดเทียมกัน เพราะคุณค่าสารอาหารโปรตีนในปลา มีทั้งคุณภาพ และปริมาณที่ดีและเหมาะสม มีส่วนนำไปเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ซึ่งเสื่อมสลายให้อยู่ในสภาพปกติ ทั้งยังเป็นส่วนประกอบของสาร สร้างภูมิคุ้มกันโรคและให้พลังงานแก่ร่างกาย ทั้งยัง เป็นส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรค และให้พลังงานแก่ร่างกาย การกินปลาเป็นอาหารประจำแทนเนื้อสัตว์ จะมีส่วนช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด ส่วนในเด็กทารก เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน ได้บริโภคปลาเป็นประจำ จะมีผลอันนำไปสู่การมีพลานามัย ที่สมบูรณ์และแข็งแรง และที่สำคัญต้องช่วยกันอนุรักษ์ด้วย โดยการไม่จับปลาในฤดูวางไข่หรือจับปลาเล็กๆ มากิน เพื่อเราจะได้มีปลาให้ลูกหลานได้


ผัก รักษาโรค

ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง คือ อาหารในแต่ละวันร่างกาย ต้องการอาหารครบ 5 หมู่ อาหารแต่ละชนิด ให้คุณค่าแตกต่างกันไป อาหารพวก "ผัก" ไม่เพียงแต่รับประทานแล้วอร่อยและอิ่มท้องเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าทางยาแอบแฝงอยู่อีกด้วย
ในผักมีอะไร
ผัก เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง เพราะมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น เกลือแร่ วิตามิน อยู่เป็นจำนวนมาก สารบางอย่างจะมีเฉพาะในผักเท่านั้น สิ่งสำคัญ ที่พบมากในผักทุกชนิดคือ ใยพืช (Fiber) ซึ่งเป็นส่วนที่ย่อยไม่ได้ และไม่ให้พลังงาน นอกจากมีมากในผักแล้ว ยังพบได้ในถั่วต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ข้าวซ้อมมือ ข้าวแดง เป็นต้น
ใยพืชมีประโยชน์อย่างไร

1.ให้พลังงานน้อย
2.ลดอัตราการดูดซึมของน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลภายหลังอาหารลดลง
3.ช่วยลดการดูดซึมไขมัน
4.กระตุ้นลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ท้องไม่ผูก ป้องกันโรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น
มากินผักกันเถอะ
การรับประทานผักจำนวนมากๆ หลายชนิดเป็นประจำ นอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรง และเจริญเติบโตแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคบางชนิดได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เห็ดหอม



เป็นเห็ดมีขายกันในรูปเห็ดตากแห้ง เห็ดหอมมีรสหวาน มีกลิ่นหอม สารเคมีที่พบมีเส้นใย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและวิตามินบี มีการทดลองพบว่า เห็ดหอมมีฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอลในเลือด ถ้ารับประทานเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยย่อย ลดอาการเบื่ออาหาร

งา
มีกลิ่นหอม มีน้ำมันมาก มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรด วิตามินบี 1, บี 2, วิตามินอี และเกลือแร่หลายชนิด สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ท้องผูก ผมหงอกก่อนวัย ลดโคเลสเตอรอลในเลือด และเสริมภูมิต้านทานโรค ถ้ารับประทานเป็นประจำ ข้อระวังผู้มีท้องร่วงเรื้อรัง ไม่ควรรับประทาน

ถั่ว
ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วแขก มีสารอาหารที่สำคัญคือ โปรตีน ไขมัน และเกลือแร่หลายชนิด มีคุณค่าอาหารครบถ้วน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำได้
ขี้เหล็ก
ใช้ใบรับประทาน ใบขี้เหล็กมีวิตามินเอ วิตามินซี เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 และไนอาซิน สรรพคุณทางยาของใบขี้เหล็ก มีสารชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ต่อประสาท ทำให้นอนหลับดี แก้ท้องผูกได้ดี และบำรุงร่างกาย
ตำลึง
เป็นไม้เถา ใช้ใบรับประทาน เป็นพืชมีคุณค่าสูงทั้งวิตามินเอ แคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก ยังมีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรด ฟอสฟอรัส เหล็ก เหมาะเป็นอาหารบำรุง นอกจากนี้ ตำลึงยังมีคุณสมบัติแก้แพ้ได้ดี โดยนำใบมาพอกบริเวณโดนสัตว์กัดต่อย
มะระ
เป็นผักจำพวกแตง มีรสขม เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ แก้กระหาย มีการทดลองกินมะระ ลดน้ำตาลในเลือดได้ (ส่วนเม็ดมะระจีนแก่จัด ตากแห้งแกะเปลือกนอกออก นำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำร้อนกินวันละครั้งก่อนนอน จะแก้อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้)

ผักกาด
ผักกาดมี 3 ชนิด ผักกาดขาว ผักกาดเขียว และผักกาดหอม ต่างมีสารอาหารเกลือแร่วิตามินครบบริบูรณ์ และมีเส้นใยอยู่จำนวนมาก การรับประทานเป็นประจำจะป้องกันอาการท้องผูก ลดการเป็นมะเร็งลำไส้ ส่วนผักกาดหอม สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และวิตามินซีที่มีอยู่ในผัก จะสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค

มะเขือยาว
มะเขือมีอยู่ 3 ชนิด เปลือกสีเขียว สีม่วง และสีขาว พบว่าเปลือกสีม่วงและสีขาวมีคุณภาพดีกว่าสีเขียว ในมะเขือมีวิตามินบี 1 จำนวนมาก ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของสมอง ช่วยความจำ ลดอาการอ่อนเปลี้ยของสมอง ในมะเขือยาวนี้ มีโปรตีน แคลเซียม และวิตามินมากกว่ามะเขือเทศ การรับประทานเป็นประจำ จะช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคลักปิดลักเปิด

ปวยเล้ง
เป็นผักที่มีสีเขียวเข้มมีเส้นใย เกลือแร่ วิตามินซีจำนวนมาก และยังพบว่า มีกรดออกซาลิกอยู่มากเช่นกัน ซึ่งกรดนี้ถ้ารวมตัวกับแคลเซียม จะทำให้เกิดนิ่วได้ ก่อนบริโภค ควรลวกผักปวยเล้งให้สุกก่อนแล้วเทน้ำทิ้งไป จึงนำผักมาปรุงอาหารได้ ทำเช่นนี้กำจัดกรดออกซาลิกออกไป ปวยเล้ง ถ้ารับประทานเป็นประจำ จะยับยั้งการดำเนินของโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานอีกด้วย
แค
รับประทานดอกมีชนิดสีแดงและสีขาว มีสรรพคุณลดไข้ ส่วนใบแครับประทานเป็นยาระบายได้
หัวปลี
เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย ใบหัวปลีมีธาตุเหล็ก จึงบำรุงเลือด แก้โลหิตจาง และยังคงลดน้ำตาลในเลือด และแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ การนำมาปรุงอาหารได้แก่ ยำหัวปลี หรือรับประทานสดก็ได้

เกร็ดเล็กน้อยในการปรุงอาหารผักให้ได้คุณค่า

1.การหั่นผักแล้วล้าง น้ำจะทำให้วิตามินซีในผักสูญเสียไป เพราะวิตามินซีสลายตัวได้ง่ายในน้ำ ดังนั้น จะต้องล้างผักก่อนแล้วจึงหั่น และเมื่อหั่นเสร็จแล้ว ควรปรุงทันที
2.หลังปรุงแล้วควรรับประทานทันที เพราะการทำทิ้งไว้นานๆ หลังปรุง จะทำให้สิ่งมีคุณค่าทางอาหารสูญเสียไปได้
3.วิธีการหุงต้มผักทุกชนิด ล้วนมีผลต่อการสูญเสียวิตามินซี เนื่องจากวิตามินซีละลายน้ำได้ ดังนั้น การรับประทานผักต้ม จะต้องรับประทานน้ำแกงด้วย การต้มควรจะต้มในน้ำน้อยๆ และใช้เวลาสั้นๆ
4.การปรุงอาหารจำพวกผัก ถ้าเติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย จะช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร และรักษาวิตามินซีไว้ด้วย
5.เครื่องครัวที่ใช้ผัดหรือต้มผัก ควรเป็นพวกเหล็ก เพราะจะทำให้วิตามินสูญเสียน้อยก










วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเลือกอาหาร

อาหารเป็นพิษ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกประเทศ แม้ประเทศที่มีความเจริญสูงและมีการควบ คุมเข้มงวดอย่างสหรัฐอเมริกา สาเหตุหลักมักเกิดจากการขาดความระมัดระวังของผู้บริโภคเอง โดยเฉพาะในเรื่องสุขอนามัย การป้องกันอาหารเป็นพิษไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ต่อไปนี้ เป็นข้อแนะนำที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากอาหารได้






1. ข้อควรระวังของผู้ซื้อ
1.1 การเลือกซื้อสินค้าที่ร้านค้า

χ ตรวจสอบหีบห่อที่บรรจุอย่างถ้วนถี่ สังเกตว่าภาชนะอยู่ในสภาพปกติหรือไม่วัสดุที่ใช้รัดหรือหุ้มหลุดหายไปหรือเปล่า ทางที่ดีควรเปรียบเทียบภาชนะที่น่าสงสัยกับภาชนะอื่นบนชั้นวาง
χ ตรวจสอบตัวป้องกันการเปิดภาชนะ สังเกตว่าพลาสติกห่อหุ้มภาชนะอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่
χ อย่าซื้อสินค้าที่หีบห่อเปิดอยู่ หรือมีรอยฉีกขาด เสียหาย ทั้งสินค้าบนชั้นวางในตู้เย็น หรือตู้แช่แข็งของทางร้าน
χ อย่าซื้อสินค้าที่เสียหายหรือผิดปกติ เช่น อาหารกระป๋องที่มีรอยรั่ว หรือฝากระป๋องบวม หรืออาหารแช่แข็งที่มีการละลายและนำมาแช่แข็งใหม่
χ ตรวจดูวันที่ที่ควรบริโภคที่พิมพ์อยู่บนภาชนะ และเลือกซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด

1.2 การตรวจสอบอาหารที่บ้าน

χ เมื่อเปิดภาชนะให้ตรวจสอบสินค้าอย่างถ้วนถี่ อย่าบริโภคอาหารที่มีสีผิดเพี้ยนจากเดิม ขึ้นรา มีกลิ่นเหม็น หรือที่มีน้ำหรือฟองออกมาเวลาเปิดกระป๋อง
χ ไม่ควรบริโภคอาหารที่ภาชนะมีความเสียหายหรือมีสภาพไม่สมบูรณ์ เช่นกระป๋องรั่วหรือฝากระป๋องบวม

2. การประกอบอาหารที่บ้านสามารถทำได้ตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
2.1 ความสะอาด ล้างมือและภาชนะเครื่องใช้ให้สะอาด
ล้างมือ ภาชนะเครื่องใช้ และเขียงด้วยสบู่และน้ำร้อนทั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไก่ ไข่ หรืออาหารทะเล
χ คุณรู้หรือไม่? : ร้อยละ 20 ของผู้บริโภคไม่ล้างมือและพื้นที่บริเวณห้องครัวก่อน การประกอบอาหาร การล้างมือและการทำความสะอาดพื้นที่บริเวณห้องครัวเป็นขั้นตอนแรกของอาหารที่ปลอดภัย

2.2 การแยกอาหาร อย่าให้เกิดการปนเปื้อนจากอาหารดิบไปอาหารสุก (crosscontamination)

โดยเฉพาะจากอาหารดิบ ๆ เช่น เนื้อ เป็ดไก่ และอาหารทะเล ดังนั้น จึงควรเก็บอาหารเหล่านั้นไว้ให้ห่างจากอาหารที่จะรับประทาน

ใส่อาหารปรุงสุกแล้วในจานที่สะอาด ถ้าคุณใส่อาหารสุกในจานที่เคยใส่อาหารดิบโดยที่ยังไม่ได้ล้างจานนั้น แบคทีเรียจากอาหารดิบจะสามารถปนเปื้อนในอาหารสุกได้
X คุณรู้หรือไม่? : หลังจากหมักเนื้อ ไก่ และอาหารทะเลดิบ ส่วนผสมที่ใช้หมักนั้นอาจปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียที่ร้ายแรง อย่าชิมหรือใช้น้ำหมักนั้นถ้าไม่ได้ทำให้สุกเสียก่อน

2.3 การประกอบอาหาร การประกอบอาหารด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหาร เห็นด้วยว่า อาหารจะสุกได้ที่และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เมื่อใช้ความร้อนและระยะเวลาที่เหมาะสม
เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อ เป็ดไก่ และอาหารอย่างอื่นได้รับการปรุงสุกทั่ว ใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่สะอาดวัดอุณหภูมิภายในอาหารที่ปรุงนั้น
χ คุณรู้หรือไม่? : การปิ้งหรือการย่างควรให้ความร้อนภายในอย่างน้อย 62.8 องศาฟาเซลเซียส สำหรับอกไก่ควรร้อน 76.7 องศาเซลเซียส และไก่ทั้งตัวควรร้อน 82.2 องศาเซลเซียส (วัดจากความร้อนที่น่องไก่)

2.4 การทำให้เย็น ใส่ตู้เย็นทันที
นำอาหารใส่ตู้เย็นอย่างรวดเร็วเพราะอากาศเย็นสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการเพิ่มของแบคทีเรียได้ ดังนั้น ควรตั้งอุณหภูมิตู้เย็นไว้ไม่สูงกว่า 4 องศาเซลเซียส และตั้งอุณหภูมิห้องแช่แข็งไว้ที่ –18 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ควรตรวจสอบอุณหภูมิเป็นประจำโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์
อาหารที่เสียง่าย อาหารที่ปรุงแล้ว และอาหารที่กินเหลือให้ใส่ตู้เย็นภายใน 2ชั่วโมง การหมักอาหาร เช่น ด้วยน้ำมัน เครื่องเทศ ควรหมักไว้ในตู้เย็น
อย่าละลายอาหารแช่แข็งที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งการละลายอาหารแช่แข็งที่ปลอดภัยสามารถทำได้โดย

1) ใส่ในตู้เย็นในช่องปกติ
2) แช่ไว้ในน้ำเย็น (ควรเปลี่ยนน้ำทุกครึ่งชั่วโมงเพื่อรักษาระดับความเย็นไว้ให้คงที่)
3) ใช้เตาอบไมโครเวฟ ถ้าต้องการประกอบอาหารทันที

χ คุณรู้หรือไม่? : ร้อยละ 23 ของตู้เย็นของผู้บริโภคมีความเย็นไม่เพียงพอ




*********************************************