หลักในการเลือกซื้ออาหารสด
- เนื้อหมูและเนื้อวัว ควรเลือกเนื้อหมูที่มีสีชมพูอ่อน นุ่ม เป็นมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น และควรเลือกเนื้อวัวที่มีสีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่มีเมือก ต้องไม่มีเม็ดสีขาวใสคล้ายเม็ดสาคู เพราะเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด
- ตับ ที่ดีต้องมีเนื้อละเอียด ไม่มีรูพรุน
- เนื้อเป็ดและเนื้อไก่ ลักษณะผิวเต็มไม่เหี่ยวย่น ไม่มีจ้ำเขียวๆ ไม่ซีด ปลายปีกต้องไม่มีสีคล้ำ อกต้องมีเนื้อเต็ม ไม่มีรอยยุบ ตีนอ่อนไม่แข็งกระด้าง ไก่อ่อนจะมีกระดูกอกมากกว่าไก่แก่ และมักมีขนอ่อนๆด้วย
- ปลา เหงือกต้องมีสีแดงสดไม่เป็นสีเขียว ไม่มีกลิ่นเหม็นและเมือก หรือถ้ามีเมือกก็ต้องเป็นเมือกใส ตาใสไม่จมลงไปในเบ้าตา ตาไม่ขุ่นเป็นสีเทา เนื้อแน่นแข็ง ผิวสดใส เกล็ดใส ท้องไม่แตก
- เนื้อกุ้ง เลือกที่เนื้อแน่นไม่มีกลิ่นเหม็น ตาใส เห็นสีแดงของมันกุ้งชัด หัวกุ้งไม่หลุดง่าย
- หอย ฝาต้องปิดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีเมือก ไม่มีสิ่งสกปรกมากเกินไป เมื่อแกะเปลือกแล้วเนื้อจะต้องมีสีแดงสดไม่ซีด เคลื่อนไหวได้เมื่อถูกแตะต้อง
- ไข่ เปลือกต้องนวลเกลี้ยง ไม่มีรอยด่าง ไม่ร้าว เมื่อต่อยออกไข่ขาวจะไม่มีสี ไข่แดงจะอยู่ตรงกลางและกลม สีสม่ำเสมอไม่มีสิ่งแปลกปลอม
- ผักผลไม้ ควรซื้อผักสด ไม่ซื้อผักผลไม้ที่มีรอยช้ำ ดูความอ่อนแก่ของผักและผลไม้(ผักบางชนิดอร่อยเมื่อยังอ่อน เช่น ผักบุ้ง ผักบางอย่างต้องรอให้แก่จัดก่อนถึงจะอร่อย เช่น มะเขือเทศ) ซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาลเพราะจะมีราคาถูก
หลักในการเลือกซื้ออาหารแห้ง
- เลือกอาหารที่สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกปน
- บรรจุภาชนะที่สะอาด
- ที่ถั่วไม่มีจุดด่างดำ เพราะอาจมีสารที่เรียกว่าอะฟลาท็อกซิน
หลักใหลักในการเลือกอาหารกระป๋อง
- ที่ฉลากต้องมีชื่อทางการค้า เลขทะเบียนอาหาร สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ น้ำหนัก บอกวัตถุเจือปนในอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย
- ลักษณะกระป๋องต้องไม่บุบหรือนูน กระป๋องเรียบ ไม่มีกลิ่น ไม่รั่ว
หลักในการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูป
- ภาชนะบรรจุไม่ฉีกขาด
- ฉลากแสดงชื่ออาหารทางการค้า เลขทะเบียนการค้า สถานที่ผลิต ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ข้อความที่ระบุว่าใส่วัตถุกันเสียหรือไม่
หลักในการเลือกซื้อน้ำมันปรุงอาหาร
- อ่านฉลากว่าทำมาจากพืชชนิดใด
- ควรซื้อน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนอิคเกินร้อยละ 50 ของปริมาตรทั้งหมดเสมอ
เทคนิคการเลือกซื้ออาหาร
- ไก่ ต้องสด คือสีไม่ซีด ไม่มีกลิ่นเหม็น ไก่อ่อนเนื้อจะนุ่ม เดือยสั้น ไก่แก่เนื้อจะแข็ง และมีสีดำกว่าไก่อ่อน เหนียวกว่าไก่อ่อน
- กุ้งสด หัวกุ้งจะติดแน่นกับตัวไม่มีกลิ่นเหม็นคาว ต้องสดใส เปลือกมีสีน้ำเงินเทา
- เนื้อหมู มีสีชมพูสด มันหมูมีสีขาว ไม่มีกลิ่นเหม็น
- เนื้อวัว สีแดงสด มันเนื้อเป็นสีเหลือง เนื้อต้องแน่น เวลาใช้มือกดจะไม่ยุบ
- หมูสามชั้น มันบาง เนื้อหนา มีเนื้อมากชั้นหนังบางและนุ่ม ไม่มีพังผืด
- มันหมู มีสีขาว อ่อนนุ่ม ไม่เป็นพังผืด ไม่มีกลิ่นแรง
- ปลาสด ผิวเป็นมัน เหงือกสีแดงสด เนื้อแน่นกดแล้วยกนิ้วขึ้นไม่บุ๋ม เนื้อแน่นติดกระดูก มีเมือกใส ๆ บาง ๆ หุ้มทั่วตัว เกล็ดแนบกับหนัง ไส้ไม่ทะลัก
- หอย ไม่มีกลิ่นเหม็น ตัวต้องหุบแน่นจะเปิดอ้าบางเวลา แต่ถ้าเราไปแตะ มันจะหุบสนิท ทันที ถ้าหอยที่เปลือกเปิดอ้าตลอดเวลาไม่หุบ แสดงว่าหอยนั้นตายแล้ว
- ปู มีน้ำหนัก แน่น ลูกตากระดุกระดิกได้ ปูตัวผู้มีเนื้อมากกว่าปูตัวเมีย มีฝาปิดอกเล็ก เวลากดไม่ยุบลง ปูตัวเมียมีไข่ มีฝาปิดหน้าอกใหญ่ ใช้มือดีด จะมีเสียงแน่น แสดงว่ามีไข่
การเลือกซื้อไข่
- ไข่ไก่ เปลือกมีสีนวล คือมีนวลติดอยู่ ที่เปลือกไข่จะสากไม่เรียบ โพรงอากาศเล็
- ไข่เป็ด ลักษณะเช่นเดียวกับไข่ไก่ คือเปลือกจะสากไม่เรียบ ลูกโตกว่าไข่ไก่ มีโพรง อากาศเล็ก
- ความสด
- ขนาด
- ราคา
การเลือกซื้อผัก มีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อดังนี้
- พิจารณาจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่
การเลือกซื้อตามฤดูกาล การเลือกซื้อผักที่เป็นหัว มีดังนี้
- เผือก มัน เลือกที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบ
- ผักกาดหัว เลือกหัวอ่อน ๆ ผิวเรียบไม่งอ
- กะหล่ำปลี เลือก หัวแน่น ๆ และมีน้ำหนักมาก
- หอมใหญ่ เลือกหัวแน่น ๆ เปลือกแข็ง
การเลือกซื้อผักที่เป็นฝัก
- ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อน ๆ สีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน มี เมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน อันตรง ๆ ไม่คดงอ
การเลือกซื้อผักที่เป็นใบ
- ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฯลฯ เลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และมีหนอน ต้นใหญ่อวบ ใบแน่นติดกับโคน
การเลือกซื้อผักที่เป็นผล
- มะเขือเปาะ เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว
- แตงกวา แตงร้าน ลูกที่มีน้ำหนักสีเขียวอ่อน ลูกยาว ผิวนวล ไม่มีรอยช้ำ
- มะนาวเลือกผิวบางเรียบ ไม่เหี่ยว - ฟักทอง ผลหนัก แน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ
การประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์
วิธีทำให้เนื้อเปื่อยเร็ว
- ใช้เอนไซม์ที่เรียกว่าพาเพอิน (papain) ซึ่งมีอยู่ในมะละกอ ทำให้เนื้อนุ่ม โดยนำมาทา ก้อนเนื้อภายนอกใช้ส้อมจิ้ม
- ใช้เอนไซม์ ที่เรียกว่า โปรมิลิน (Bromelin) จากสับปะรด
- การใช้เกลือและน้ำตาล ใช้วิธีบด ทุบ
การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
- ซื้อจากแหล่งผลิตที่ไว้ใจได้
- ลักษณะของกระป๋องใหม่ ไม่บุบ บวม รั่ว มีสนิม
- มีส่วนประกอบ ปริมาณน้ำหนักเนื้อ น้ำหนักสุทธิ
- เวลาที่ผลิต วันหมดอายุ ชื่อผู้ผลิต
- ถ้าเปิดอาหารกระป๋องแล้ว ควรเทใส่ภาชนะอื่นแล้วอุ่นหรือทำให้ร้อน
- เก็บไว้ในที่แห้ง อากาศโปร่งไม่ถูกแสงแดด
- ถ้าเปิดอาหารแล้วควรรับประทานให้หมดทั้งกระป๋อง ไม่ควรเก็บค้างไว้
1 ความคิดเห็น:
อาจารย์เป็นผู้มีพระคุณเป็นผู้ที่ให้ความรู้ต่างๆ สอนให้เรานั้นเป็นคนดี
แสดงความคิดเห็น