วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551





สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลฉันใด ผิวพรรณหยาบและผิวพรรณละเอียดก็สามารถบ่งบอกถึงสถานภาพของเจ้าของ ผิวพรรณนั้นได้เช่นเดียวกัน คนส่วนใหญ่ไม่มีใครปรารถนาในสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ไม่สวยงาม ยิ่งเป็นผู้หญิงด้วยแล้ว ไม่ว่า จะอยู่ที่ใดก็ย่อมจะรักสวยรักงามด้วยกันทั้งนั้น ผิวพรรณก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความหล่อความสวยงามของ ร่างกาย แม้ว่าใบหน้าหรือรูปร่างจะไม่ถึงกับหล่อ สวยหรือดี แต่ถ้าผิวพรรณดีก็นับว่ามีภาษีอยู่แล้ว

การที่จะมีผิวพรรณดีได้นั้น นอกเหนือจากเรื่องบุญกรรมนำแต่ง ซึ่งเป็นเรื่องของพันธุกรรม ที่กำหนดมาจากภายในมา ตั้งแต่อยู่ในท้องพ่อท้องแม่ส่วนหนึ่งแล้ว ก็เป็นเพียงส่วนเดียวมิได้เป็นตัวกำหนดทั้งร้อยเปอร์เซนต์ ปัจจุบันมึการศึกษา ออกมาชัดเจนว่า กรรมพันธุ์เป็นเพียงตัวกำหนดมาจากภายใน แต่ภายนอกคือสิ่งแวดล้อมที่เป็นบริบทที่ล้อมรอบบุคคลนั้น ๆ จะมีบทบาทเป็นตัวกำหนดแทน ซึ่งเราสามารถส่งเสริมหรือสร้างต่อเอาเองเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ดีที่ต้องการได้ และต้องรู้จักชลอไว้ มิให้ความเสื่อมสภาพมาถึงเร็วเกินไปก็จะช่วยได้มาก ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยบำรุงและชลอในเรื่องของผิวพรรณ คือ อาหารที่มีประโยชน์
อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผิวพรรณต้องเป็นอาหารที่มีสารเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ, ซี และอี สารเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และซี มักจะพบในอาหารพวกที่มีสีเขียวและสีเหลือง เช่น ผักบุ้ง คุน้า กวางตุ้ง มะระขี้นก ถั่วฝักยาว กระถิน ถั่วลันเตา ผักกาดหอม แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง ส้ม ขนุน มะละกอ สับปะรด ฝรั่ง มะม่วง มะขามเทศ เป็นต้น ส่วนอาหารที่มีวิตามินอีก็หาได้จากข้าวโพด ถั่วเหลือง งา รำข้าว และจมูกข้าวสาลี เป็นต้น


การได้รับอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และอี น้อย หรือไม่ค่อยกินผัก ผลไม้ จะส่งผลต่อสุขภาพของผิวพรรณ โดยตรง ทำให้ผิวพรรณขาดความเปล่งปลั่งสดชื่น หากเป็นแผลก็หายช้า ถ้าขาดเป็นเวลานานก็จะทำให้ผิวหนาและเกิด ตุ่มเล็ก ๆ ทั่วไปตามรูขุมขน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อระบบสายตาทำให้ปรับเข้ากับที่มืดได้ช้า หรือที่เรียกว่า ตาบอกกลางคืนได้ สารอาหารดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยบำรุงผิวพรรณ เท่านั้น ยังช่วยชลอความแก่ชรา นายแพทย์เดนแฮม ฮาร์แมน แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสก้า สหรัฐอเมริกา เจ้าของทฤษฎีความแก่ชราที่กำลังเป็นที่ยอมรับและนำมาศึกษา ค้นคว้าต่อกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม่มีมนุษย์คนใดอยากแก่ มีแต่พยายามชลอให้มันช้าลง นายแพทย์ผู้นี้พบว่า อนุมูลอิสระ ฟรี-แรดดิคัล (Free-radical) นั้น ตัวของมันมีอิเลคตรอนเดี่ยวไม่มีคู่ จึงเข้าไปแย่งอิเลคตรอนจาก โมเลกุลของเซลล์อื่นมาเพื่อความคงตัวของมันเอง ทิ้งสิ่งไม่มีประโยชน์คืออนุมูลอิสระเอาไว้ และมันก็กลับมาทำลาย เซลล์ทำให้เซลล์ตาย เซลล์ของผิวหนังจะเหี่ยวย่น มีริ้วรอย ถ้าจะชลอให้ขบวนการนี้ช้าลงก็ต้องใช้สารที่มี แอนตี้-ออกซิแดท์ (Anti oxidant) ก็คือ กินอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และ ซี และอี ซึ่งก็คือพวก พืช ผัก และผลไม้สีเขียว และ สีเหลือง นั่นเอง ใครที่อยากแก่ช้า มีผิวพรรณดี เปล่งออกมาจากภายใน มิใช่การฉาบทาที่เป็นเรื่องชั่วครู่ชั่วยามก็ต้อง รับประทานอาหารเหล่านี้ร่วมกับการดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอในแต่ละวันด้วย





"เบต้าแคโรทีน" (Beta-carotene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ(โปรวิตามินเอ) มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทั้งนี้ โดยปกติร่างกายของมนุษย์เราสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(แอนตี้ออกซิเดนท์) ด้วย สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล(IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของเบต้าแคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้ เบต้าแคโรทีนมีในพืชสีเหลืองและสีส้ม ทั้งแครอต ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป มะละกอสุก และผักที่มีสีเขียวอย่างบร็อกโคลี่ มะระ ผักบุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น (เหตุที่มีสีเขียวเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบัง)
ประโยชน์ที่เบต้าแคโรทีนให้แก่ร่างกายคือ
1.ดูแลรักษาผิวพรรณอันเป็นส่วนของร่างกายที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทราบว่าอนุมูลอิสระมีผลต่อเราแล้วหรือยัง เช่น ผิวเริ่มเหี่ยวย่น ไม่ผ่องใส
2.ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง อนุมูลอิสระมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย การลดปริมาณอนุมูลอิสระเท่ากับลดความเสี่ยงของมะเร็ง ทั้งยังพบว่าเบต้าแคโรทีนให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายที่ชื่อ ที-เฮลเปอร์ ให้ทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง
3.บำรุงสุขภาพของดวงตา เบต้าแคโรทีนเมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้วจะได้วิตามินเอ ซึ่งร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอฟซินในดวงตาส่วนเรตินา ทำให้ตามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกด้วย
4.ชะลอความแก่ เบต้าแคโรทีนให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่ เบต้าแคโรทีนนับเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญสำหรับสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีรายงานของการขาดเบต้าแคโรทีนเลย แม้ว่าการวิจัยจำนวนมากจะระบุว่า การเสริมด้วยเบต้าแคโรทีนใช้ในคนที่มีอาการขาดวิตามินเอ แต่ก็ยังคงไม่มีข้อมูลแน่ชัดที่แสดงถึงอาการขาดเบต้าแคโรทีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักโภชนาการแนะนำว่าเราควรรับประทานเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกายโดยการบริโภคผักสดและผลไม้สด สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจากเบตาแคโรทีน ขณะนี้ยังไม่พบ แม้จากการวิจัยพบว่าวิตามินเออาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 25,000 หน่วยสากล(IU) ต่อวัน แต่ไม่พบว่าเบต้าแคโรทีนมีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานในปริมาณสูง ส่วนการมีปฏิกิริยากับสารอื่นไม่พบรายงานว่ามีปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีนกับยาสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ








1 ความคิดเห็น:

food กล่าวว่า...

อาจารย์ภาสกร เป็นอาจารย์ที่ใจดีเป็นคนร่าเริงเวลาสอนจะเต็มที่กับการสอนอาจารย์เป็นคนที่สนุกเรียนกับอาจารย์แล้วไม่เคลียด